ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาบริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้วยวิธี Modified Priority Need Index (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาบริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับสภาพปัจจุบันมากที่สุด คือด้านบุคลากร (
= 4.35) รองลงมาคือ ด้านการบริการ ( = 4.17) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ (
= 4.11) ส่วนด้านที่มีระดับสภาพปัจจุบันต่ำสุดคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย (
= 3.84) สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มากที่สุดคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย (
= 4.98) รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (
= 4.97) ด้านการประชาสัมพันธ์ (
= 4.91) ส่วนด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำสุดคือด้านบุคลากร (
= 4.74)
2. ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นอันดับแรกคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย (PNImodified = 0.30) รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (PNImodified = 0.24) ด้านการประชาสัมพันธ์ (PNImodified = 0.22) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ (PNImodified = 0.18) ด้านการบริการ (PNImodified = 0.15) ตามลำดับ ส่วนด้านบุคลากร (PNImodified = 0.09) เป็นด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2566). ข้อมูลด้านนโยบายและแผน: ข้อมูลนักศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://202.29.22.18/rmuinfo/student2.php
ทิศากร ศิริพันธุ์เมือง. (2560). รูปแบบการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 10(2), 55-67.
วลัยลักษณ์ ผานิชชัย. (2542). การใช้และความต้องการสารนิเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสันต์ สระพัง, แววตา เตชาทวีวรรณ และศศิพิมล ประพินพงศกร. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นในการบริการห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเปิดที่มีระบบการศึกษาทางไกล. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 14(1), 95-111.
วัณทนา ใคร่ครวญ และกลีบแก้ว จันทร์หงษ์. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ต่อการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของห้องสมุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 194-202.
วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ. (2543). การจัดและบริหารงานห้องสมุด. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
สนทยา สาลี. (2562). การพัฒนารูปแบบบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมฤดี พิณทอง และรุ่งทิพย์ เจริญศักดิ์. (2563). การศึกษาสภาพและความต้องการการบริการแบบเบ็ดเสร็จของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลงานทางวิชาการ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 25-40.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2565). รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR). เข้าถึงได้จาก https://arit.rmu.ac.th/data_quality_assurance.php?id=2564
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.