การศึกษารูปแบบและคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ การศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

บรรจง โสดาดี

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนด้านปัจจัย นำเข้า ด้านปัจจัยกระบวนการ ด้านปัจจัยผลผลิต และด้านปัจจัยผลกระทบโครงการพระสอนศีลธรรมใน โรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ขั้นตอนการวิจัยโดย สำรวจข้อมูลเบื้องต้น จัดทำเครื่องมือ ตรวจสอบ คุณภาพเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงานการ วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีสองแบบ คือ ๑) บัตรบันทึกการค้นคว้า ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจาก เอกสาร และ ๒) แบบสอบถาม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มตัวอย่างพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน ๒๓๙ รูป จากพระสอนศีลธรรมทั้งหมด จำนวน ๙๑๐ รูป เก็บจากผู้บริหารและครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษา จำนวน ๔๕๓ คน จากผู้บริหารและครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษา ทั้งหมด จำนวน ๑,๖๙๒ คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า พระสอนศีลธรรมมีความพึงพอใจต่อตัวชี้วัดเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกแต่งตั้ง พระสอนศีลธรรม คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของพระสอนศีลธรรม และงบประมาณสนับสนุน อยู่ในระดับปานกลาง และการดำเนินโครงการมีกระบวนการสรรหาคัดเลือกโรงเรียน มีระเบียบปฏิบัติของพระสอนศีลธรรม และมีการ ตั้งคณะทำงานกำกับดูแลประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัญชีรายชื่อพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ ( ๒๕๕๓) มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์,บัญชีรายชื่อพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์. (เอกสารอัดสำเนา) ปรีชา กันธิยะ.(๒๕๕๑) การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่พระมีส่วนร่วมในการสอนศีลธรรม. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม,. พระธรรมโกศาจารย์. http://www.krupra.net/v๒/main.php?url=about. (วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓) พิสณุ ฟองศรี (๒๕๔๙). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร : เทียมฝาการพิมพ์.