ธรรมาภิบาล : การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสภาพปัญหาการคอร์รัปชั่นหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งประกอบไปด้วย ความหมาย, ประเภท, สาเหตุ, ผลปัญหาที่ตามมา และ แนวทางในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น โดยใช้การศึกษาจากเอกสารทางวิชาการเป็นหลักแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า คอรัปชั่น หมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา, มี 3 ประเภท ได้แก่ (1) การคอรัปชั่นขนาดเล็กน้อย (2) การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ และ (3) การให้ของขวัญ (gift) สาเหตุของคอรัปชั่น ได้แก่ (1) คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือความร่ำรวย (2) ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ (3) ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่างๆ (4) ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ และ (5) สภาพทางการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้นเพื่อช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์ หลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (1) หลักนิติธรรม หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม หลักคุณธรรม และ (3) หลักความโปร่งใส หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายแหในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบ
Article Details
References
จรัส สุวรรณเวลา. (2546). จุดบอดบนทางสู่ธรรมาภิบาล : บทบาทของบอร์ดองค์การมหาชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2546). “ระเบียบวาระแห่งชาติปฏิรูปสังคมไทย” ใน ธรรมาภิบาลกับคอร์รัปชั่นในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). รัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
อุดม มุ่งเกษม. (2545). Governance กับการพัฒนาข้าราชการ. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร์.