ความเชื่อมะม๊วตของชุมชนชาวพุทธเชื้อสายเขมร ในตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พระศิริชัย ปภสฺสโร
ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม
พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมมะม๊วต ของคนในตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมมะม๊วตในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของพิธีกรรมของมะม๊วตในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า 1) พิธีกรรมมะม๊วตของคนในตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มะม๊วตนั้นมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ (1) มะม๊วตแขมร์ เป็นการเข้าทรงเพื่อรักษาคนป่วยหนัก ตามความเชื่อของชาวไทยเขมร (2) มะม๊วตโพง เป็นการเข้าทรงเพื่อรักษาคนป่วยและบูชาครูกำเนิดของตนเองตามความเชื่อของชาวไทยกูย ปัจจุบันประชาชนในตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ยังมีความเชื่อ และยังคงมีการเข้าทรงมะม๊วตอยู่ 2) ความเชื่อพิธีกรรมมะม๊วตในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น พบว่า พิธีกรรมมะม๊วตไม่ได้เป็นพิธีกรรมที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนที่นับถือผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษ แต่เมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย และคนไทยมีจิตศรัทธาในหลักคำสอน และรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ กระทั่งถึงปัจจุบัน 3) จากการวิเคราะห์คุณค่าของพิธีกรรมมะม๊วตนั้น พบว่า พิธีกรรมมะม๊วตมีคุณค่าต่อระบบการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันของคนในสังคม การช่วยเหลือคนที่สิ้นหวังจากการเจ็บป่วย ที่อยู่ในภาวะเรื้อรัง และรักษาไม่หาย ให้ได้มีความหวังและมีกำลังใจ ส่วนคุณค่าด้านวัฒนธรรมประเพณีนั้น พิธีกรรมมะม็วตนี้ ทำให้มีวัฒนธรรมในการร่ายรำที่ปรากฏในช่วงเวลาของการประกอบพิธีกรรม การร้องเพลง และการช่วยเหลือกันในยามเจ็บไข้ไม่สบาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2553). ไสยศาสตร์: ปรากฏการณ์แห่งสังคมไทยในไสยศาสตร์ครองเมือง. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง.

ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อ กับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิชาภรณ์ แสงมณี. (2536). ผีในวรรณคดี. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2533). การเข้าทรงและร่างทรง: ความเชื่อ พิธีกรรมและบทบาทที่มีต่อสังคม. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2545). ทฤษฎีคติชนวิทยาวิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ. (2539). ทรงเจ้าเข้าผี: วาทกรรมของลัทธิ พิธี และวิกฤตการณ์ของความทันสมัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สารภี ขาวดี. (2554). การศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรม “การโจลมะม็วด”: กรณีศึกษาจากชุมชนเขมร หมู่บ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7(2), 149-188.