โรงเรียนผู้สูงอายุ : องค์ประกอบ รูปแบบ การพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ

Main Article Content

มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เรียนโรงเรียนผู้สูงอายุจำนวน 50 คน เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการ แบบสอบถามความคิดเห็น และการสังเกต แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ E1/E2, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, P, r และ KR20


ผลการวิจัย พบว่า  1. องค์ประกอบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ด้านสุขภาวะทางกาย : กายภาวนา คือ ภาวะของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือทางกายภาพ เพื่อตอบสนองความสุข สามารถรับรู้อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจต่างๆ การบริโภคใช้สอยปัจจัย เป็นไปด้วยสติและเพื่อปัญญา 2) ด้านสุขภาวะทางสังคม: สีลภาวนา คือ ความรู้สึก ความสะดวก ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในครอบครัว และในสังคมที่ไม่มีการเบียดเบียน ทำร้ายซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ในสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาบุคคล ให้มีความเจริญงอกงามและการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 3) ด้านสุขภาวะทางจิต: จิตภาวนา คือ การมีส่วน ประกอบทางด้านคุณธรรม ความดีงามภายในจิตใจ รวมทั้งการมีสภาวะแห่งจิตใจที่มีความสำราญ แช่มชื่น ไม่ขุ่นมัว 4) ด้านสุขภาวะทางปัญญา: ปัญญาภาวนา คือ การมีสติปัญญา ความเชื่อ ความรู้ ความเห็น ความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง


2. หลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณค่า เพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วย และการดูแลตนเองเบื้องต้น การเข้าถึงข่าวสารและสื่อต่างๆ ได้ สามารถปรับตัวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข


3. ผลการประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ประสิทธิภาพโดยรวม E1/E2 = 81.35/80.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิชชิ่ง.

กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฏีหลักสูตร การออกแบบและพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

ประเวศ วะสี. (2554). สุขภาวะชุมชนเป็นรากฐานของสุขภาวะทั้งมวล. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จํากัด.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บรรณาธิการ). (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)

พระมหาสุทิตย์ อาภาโร (อบอุ่น) และคณะ. (2558). การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2541). บทความเรื่องสุขภาวะคืออะไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.(2556). คู่มือการดำเนินงาน โรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เสาวนีย์ ไชยกุล และคณะ. (2559). การศึกษาองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.