การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐาน บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ภานุ พิมพ์บูรณ์
สุรพงษ์ แสงเรณู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐานในตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐานของชุมชนในเขต ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจาก บทความ วารสาร สืบค้นข้อมูลจาก Internet และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผลข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลท่าม่วงเป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชี  ซึ่งเป็นการโยกย้ายมาจากแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว ซึ่งยังมีความร่ำรวยในมรดกทางภูมิปัญญาในหลากหลายสาขา ที่มีความโดดเด่นคือ อักษรไทน้อย วิถีชุมชนริมน้ำ การถนอมอาหาร การจักสาน การทอผ้า สมุนไพรและหมอยาพื้นบ้าน เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐาน  คือทัศนคติและความน่าเชื่อถือของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐานของชุมชน และแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐานของชุมชน กล่าวคือควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมูลค่าด้วยการสร้างความแปลกใหม่ด้วยการคิดค้นหรือพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่อาศัยทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น อันจะเป็นการสื่อสารให้ลูกค้าได้เข้าใจถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีษะเกษ เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.

พระมงคล มหานิล. (2552). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตข้าวกล้องหอมมะลิเพื่อเศรษฐกิจชุมชนจังหวัดอํานาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรเทพ รัตนเรืองศรี. (2549). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในการแก้ปัญหาความยากจนหมู่บ้านหนองแวง ตําบลโนนสะอาด อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

ภาณุเดช เพียรความสุข. (2549). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากอาชีพเสริมของชาวบ้าน ตําบลนาแก อําเภอคําเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมคิด พรมจุ้ย. (2546). เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง. มนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์, 20(3), 53-58.

สามารถ จันทร์สูรย์. (2536). ภูมิปัญญากับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.