การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ศุภนิจ โตสุข
พัฒนพันธ์ เขตต์กัน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ปกครอง คณะกรรมสถานศึกษาโรงเรียนภายในเขตเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 370 คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน และวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบ


                        ผลการวิจัยพบว่า


การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง
ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ,อายุ, การศึกษา,อาชีพ ,รายได้ มีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
ปัญหา อุปสรรค การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก คือ 1) ประชาชนยังขาดความรู้ที่แท้จริงในการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2) ประชาชนยังขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกับโรงเรียนอันเนื่องมาจากสาเหตุ เป็นการบริหารจัดการภายในโรงเรียน 3) ประชาชนไม่ได้ร่วมลงทุนและปฏิบัติงานอย่างแท้จริงแต่จะเป็นโรงเรียนที่จัดการให้ในทุกกิจกรรม 4) ประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญในการติดตามและประเมินผลการบริหารงานหรือการจัดการศึกษาภายในโรงเรียนอย่างจริงจัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. ม.ป.ท.. กรุงเทพมหานคร: สหชาติการพิมพ์.
ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรุกิจบัณฑิต.
ทศพล กฤตยพิสิฐ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขตหนองจอก ที่มีต่อโครงการ / กิจกรรมการพัฒนาตามแนวทาง “บรม”และ “บวร” เพื่อสร้างสรรค์ฃอุดมการณ์แผ่นดินหนองจอก. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.