รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยชุมชน กรณีศึกษาบ้านรักไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ศุภลักษณ์ พงษ์พุก
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยชุมชน กรณีศึกษาบ้านรักไทย อำเภอเนินมะปราง  จังหวัดพิษณุโลก ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ด้านการเสนอความคิดการวางแผนและการตัดสินใจ ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เข้าร่วมประชุมในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีคนในชุมชนและธรรมชาติเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา มีการรวมกลุ่มและประสานงานในระดับพื้นที่ 2) ด้านการดำเนินการและการปฏิบัติการ มีคณะกรรมการในขับเคลื่อนพัฒนาหมู่บ้าน และจะดียิ่งขึ้นหากได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน  3) ด้านการรับและแบ่งปันผลประโยชน์ ประชาชนในพื้นที่จะให้ความร่วมมือก็ต่อเมื่อเป็นผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับผลประโยชน์ แต่ผลโยชน์จะนำมาซึ่งความขัดแย้งในชุมชน และ 4) ด้านการติดตามและประเมินผล ทางชุมชนยังขาดการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐิกา ศอกกลาง. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บ้านธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 81-91.

กัลยากร แสวงผล. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำไทรน้อยโดยชุมชนมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน

จริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 85-97.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2561). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน . วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(50), 169-186.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46.

ดรรชนี เอมพันธุ์. 2550. การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

นันทศาล มุกดามนตรี. (2556). ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน : กรณีศึกษาเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิติภัทร วรรณโพธิ์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนบ้านไทรเอน หมู่ที่ 8 ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ).วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูษิต อินต๊ะ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง). บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรัชชา ศรีพุทธา. (2556). ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตําบลกกสะทอน อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการและการประเมินโครงการ). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ศุภสุตา สิกขฤทธิ์. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

สถาพร แก้วพิลารมย์. (2560). การรับรู้ของชาวบ้านเกี่ยวกับผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุธีรา สิทธิกุล. (2558). การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่เหียะใน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุรีย์วัลย์ เหิกขุนทด. (2550). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของผู้แทนองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม ในจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อิระวัชร์ จันทรประเสริฐ. (2541). แรงงานกับการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

อุมาพร มุณีแนม และพูนทรัพย์ ศรีชู. (2552). รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนและแผนการตลาดใน การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 5(2), 1-15.