การพัฒนาบ้านหนังสือให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิไลลักษณ์ แว่นทอง
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
เฉลิมพล ไวทยางกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของบ้านหนังสือ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการพัฒนาบ้านหนังสือให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ใช้บริการบ้านหนังสือ สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จำนวน 382 คน ตัวอย่าง คำนวณโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ คือ t-test และ F-test
          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการบ้านหนังสือส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา มีการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย – อนุปริญญา และรายได้ต่อเดือน 10,000 – 15,000 บาท  ระดับการพัฒนาของบ้านหนังสือให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบ้านหนังสือ สำนักงานเขตบึงกุ่ม จำนวน 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x ̅=4.17,S.D.=0.877) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการจัดกิจกรรมมีระดับการพัฒนาของบ้านหนังสือให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(x ̅=4.33,S.D.=0.837) รองลงมา คือ ด้านอาคารสถานที่และทรัพยากรบ้านหนังสือ (x ̅=4.30,S.D.= 0.890) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ชุมชน (x ̅=3.86,S.D.=0.935) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการพัฒนาบ้านหนังสือให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อระดับการพัฒนาของบ้านหนังสือให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุมพล หนิมพานิช. (2556). การบริหารและการพัฒนาองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2551). คู่มือสู่องค์การแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บดินทร์ วิจารณ์. (2553). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

พรทิวา วันตา. (2553). องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและ ไซเท็กซ์.

สุนันทา กิ่งบุตร. (2554). แนวทางการพัฒนามุมบ้านหนังสือเพื่อบริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.