การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 7E และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมเคมี หน่วยการเรียนรู้ปฏิกิริยาเคมี ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้นและการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมเคมี 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยชุดกิจกรรมเคมี 4) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยชุดกิจกรรมเคมี และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยชุดกิจกรรมเคมี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบัวเชดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมเคมี จำนวน 6 เล่ม 2)แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 4) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมเคมี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 16.0 ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ชุดกิจกรรมเคมีที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.35/82.80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเคมี เท่ากับ 0.6806 3) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=24.13) 4) นักเรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=31.75) 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมเคมีที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูงมาก
Article Details
References
ขุนทอง คล้ายทอง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 1 และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มและแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จงรักษ์ ปัญญารัตนกุลชัย. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น(7E) และการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จินดารัตน์ แก้วพิกุล. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี และความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด และการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จินตวีร์ โยสีดา. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้เรื่อง ไบโอดีเซล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐชาพร สาที. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีพื้นฐานด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญชนก โหน่งกดหลด. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น และการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิติมา รุจิเรขาสุวรรณ. (2555). ประสิทธิผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล ที่พัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชามญช์ พันธุ์ยุลา. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ด้านแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E). (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริลักษณ์ วิทยา. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ปิโตรเลียมและพลังงานทดแทน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย .(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุบลวดี อดิเรกตระการ. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาเคมี เรื่องปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นกับแบบปกติ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 5(2), 156-176.
Bard, E. (1975). Development of a Variable Step Programmed System of Instructionfor College Physical. Dissertation Abstract International, 35(a), 5947 – A.
Davis, M. (1979). The Effectiveness of Guide – Inquiry Discovery Approach in an Elementary School Science Curriculum. Dissertation Abstracts International, 39(7), 416 – A.
Ingo, E. (2002). Teaching Biodiesel: A Sociocritical and problem oriented approach To chemistry teaching and student’s first View on it. Chemistry Education: Research and practice In Europe, 3(1), 77-85.
Johnson, D. W.; et al. (1991). Active Learning: Cooperation in the College Classroom. Edina: Interaction Book Company.
Kolebas, L. T. (1972). Teaching Children Science : An inquiry Approach. (3rd ed.). California: Wadsworth Publishing.
Meeks, E. B. (1972). Learning Package Versus Conventional Method of Instruction. Dissertation Abstracts International, 33, 4295 – A.
Rens, L. V., & Schee, J. V. (2009). Teaching molecular diffusion using an inquiry approach. Journal of Chemical Education, 12, 1437-1441.
Sanger, M. J. (2007). The effects of inquiry-base instruction on Elementary teaching major’s chemistry content knowledge. Journal of Chemical Education, 6, 1035-1039.
Sesen, B. A., & Tarhan, L. (2010). Promoting active learning in high school chemistry: learning achievement and attitude. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2, 2625–2630.
William, J. M. (1981). A Comparison Study of Tradition Teaching Procedures on Student Attitude Achievement and Critical Thinking Ability in Eleventh Grade United State History. Dissertation Abstracts international, 42(4), 1604-A.
Yang, S. P., & Li, C. C. (2009). Using student-developed, inquiry-based experiments toinvestigate the contributions of Ca and Mg to water hardness. Journal of Chemical Education, 4, 506-513.