บทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของผู้บริหาร ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านมุฑิตา จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ภรประสิทธิ์ แก้วกันยา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านมุฑิตา จังหวัดนครปฐม และเพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารแหล่งเรียนรู้ จำแนกตามนักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ, เด็กและเยาวชน และเจ้าหน้าที่


          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 411 คน ประกอบด้วยนักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ 23 คน เด็กและเยาวชน 288 คน และเจ้าหน้าที่ 100 คน  เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบระดับประมาณค่า ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .931 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ


          ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านมุฑิตา  จังหวัดนครปฐม  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยส่วนใหญ่คือ การประเมินแหล่งเรียนรู้  รองลงมาคือการนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้แหล่งเรียนรู้ และน้อยที่สุดคือ การดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ และผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่าบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านมุฑิตา  จังหวัดนครปฐม  ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการบริหารแหล่งเรียนรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2532). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ก.พล. 2544. กรมการศึกษานอกโรงเรียน.
กรมสามัญศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ เขตการศึกษา 5. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานวิทยา ด่านธำรงกุล. (2546). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เริร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2522). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิศวการพิมพ์.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). แผนหลักโครงการ "หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน" aster Plan of Lab School Project. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
เปรมวดี ศรีธนพล. (2549). เส้นทางสู่การปฏิรูปการเรียนการสอน : แหล่งเรียนรู้สู่การบูรณาการเรียนการสอน. วารสารวิชาการ, 9(3), 69.
ฐิตินันท์ บุญตั้ง. (2556). ความคิดเห็นต่อการนิเทศการสอน กำกับติดตามการสอน การประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาของครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนวังเจ้าราม อำเภอบ้านด้านลานหอยจังหวัดสุโขทัย. ารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยทองสุข.
เบญจมาศ สหะเดช. (2550). การบริหารแหล่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร.
พิชัย เรืองดี. (2558). การศึกษาแนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. นครราชสีมา.
มงคล พลภูมี. (2551). สภาพการดำเนินงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. หาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. มหาสารคาม.
วรจักร ใจแกล้ว. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไรพรรณี.
ศิริลักษณ์ ศรีสมบูรณ์. (2553). การบริหารแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชฎอุดรธานี.
อภิสรา ชูปัญญา. 2556. การบริหารงานวิชาการด้านการวัดผลประเมินผลกลุ่มโรงเรียนพัฒนาท่าจีน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยทองสุข.
อุมาวดี ยลวงศ์. (2553). สภาพปัญหาการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.