การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจชุมชน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจชุมชน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีวิจัยเชิงปริมาณ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานและสมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานของธุรกิจในชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 152 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.965 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจชุมชน คือ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ สมาชิกในกลุ่มอาชีพมีความรับผิดชอบในการทำงาน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม ด้านการปกป้องและธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ สมาชิกในกลุ่มอาชีพปฏิบัติงานเป็นทีม ตามลำดับ
พบว่า การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการเข้าถึงสื่อ ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีความเอื้ออาทรร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในชุมชนหรือท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วม ได้แก่สร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาธุรกิจ การจัดการด้วยตนเอง ได้แก่ การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมโดยมีการวางแผนล่วงหน้า ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ธนัฎฐา ทองหอม. (2556). อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด. วิทยานิพนธ์การจัดการทั่วไป สาขาบริหาธุรกิจ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วันวิสา จงรักษ์. (2558).กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย.วิทยานิพนธ์การจัดการวิศวกรรมธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Greenbaum, H. H., Holden, E. J. Jr, Spataro, L. (1983). Organizational Structure and Communication Processes: A Study of Change Group & Organization Management, March 8: 61-82.
Servaes, J., Jacobson, T. A., and White, S. A. (1996). Participatory communication for social change. California: Sage.
Robbins, Stephen P. & Mary Coulter. (2003). Management. (7thed). New Jersey: Engle WoodCliffs Prentice Hall.
Robbins, Stephen P. & Mary Coulter. (2011). Management. (7th ed). New Jersey: Englewood Cliffs Prentice-Hall.
Schroeder, G. Roger and Sohel Ahmal. (2003). “The Impact of Human Resource Management Practices on Operational Performance: Recognizing Country and Industry Differences ” Journal of Operations Management. 21, 1. 19 -43.
Jayaram, Droge and others. (1999). The Impact of Human Resource Management
Practices on Manufacturing Performance. Journal of Operations Management.
18,13. 1 – 20.
Sanoff, Henry. M. (2000). Community Participation Methods in Design and Planning.
Unitetes of America: John Wiley & Sons, Inc.
Robinson, John P. (1972). Mass Communication and Information Discussion in Kline
and Tichenor Current Perspectives in Mass Communication Research. Beverly
Hill : Sage Publication.
Mercado, Cesar. M. (1991). Development communication management. The Journal of
Development Communication, 12(2), 13-25
Guest, David, (1987). “Human resource management and industrial relations”.Journal
of Management Studies.24, 5. 503–521.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”.
Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610