การศึกษาผลกระทบของนโยบายการใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดในแม่น้ำ: กรณีศึกษา อวนทับตลิ่งในแม่น้ำมูลใน

Main Article Content

วันชัย ชูศรีสุข
วรภูริ มูลสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบของนโยบายการใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดในแม่น้ำ : กรณีศึกษา อวนทับตลิ่งในแม่น้ำมูล ใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายการใช้เครื่องมือทำการประมงด้วยอวนทับตลิ่งในแม่น้ำมูล 2. เพื่อหาแนวทางการแก้ไขประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการใช้อวนทับตลิ่งหาปลาในแม่น้ำมูล


             ผลการวิจัยพบว่า การออกประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าเป็นการออกระเบียบคลอบคลุมทั้งประเทศ โดยไม่ดูถึงความแตกต่างของเครื่องมือทำการประมงอวนทับตลิ่งในทะเล อาจจะทำลายล้าง เพราะใช้เรือลากตลอด 24 ชั่วโมง แต่อวนทับตลิ่งในแม่น้ำ ต้องอาศัยเรือเพื่อไปวางอวน แล้วก็ใช้คนลากอวนเข้าฝั่งส่วนมากจะเป็นคนในครอบครัว ควรจะมีการแก้ไขประกาศเพื่อให้ประชาชนที่ทำมาหากินตามริมแม่น้ำมูล สามารถจับปลาด้วยอวนทับตลิ่งได้ มีการสร้างเขตอภัยทานให้ปลาได้หลบภัย ทำให้มีทรัพยากรหมุนเวียนไม่จบสิ้นก่อเกิดประโยชน์และเกิดคุณค่าต่อมนุษย์มากที่สุด


             การที่กรมประมงประกาศห้ามใช้เครื่องมือจับปลาประเภทโพงพางหลี่ เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะโพงพาง ที่เป็นอวนตาถี่ ขวางกั้นลำน้ำ ส่งผลต่อสัตว์น้ำขนาดเล็ก ไม่สามารถเล็ดลอดไปได้ จะส่งผลต่อการลดจำนวนของสัตว์น้ำอย่างร้ายแรง ผลที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าอวนทับตลิ่ง เพราะอวนทับตลิ่งจะจับปลาได้เฉพาะจุดไม่สามารถลากจับปลาได้ตลอดทั้งลำน้ำ


             ต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นการสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยอาศัยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง วิธีการที่จะนำไปสู่สิ่งที่แก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็ง โดยรัฐบาลต้องมีนโยบาย จัดสรรแหล่งน้ำ เพื่อกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในแต่ละท้องถิ่น ที่เรียกว่า เขตอภัยทานที่ชัดเจน มีการส่งเสริมให้จัดตั้งกลุ่มองค์กรจากชุมชนในหมู่บ้าน มีการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยทุกฝ่าย เช่นวัด บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ต้องมีเจ้าอาวาส หรือผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองท้องถิ่นเข้ามาให้การสนับสนุนช่วยเหลือการอนุรักษ์พันธุ์ปลาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป


             ควรจะจำกัดผู้ทำอาชีพประมงโดยให้ขึ้นทะเบียนเป็นครัวเรือน ในแต่ละชุมชนว่าจะให้ประกอบอาชีพประมงด้วยการใช้อวนกี่ครัวเรือน อวนจำนวนกี่ปาก ขึ้นทะเบียนให้ชัดเจน ถ้าครัวเรือนไหนเลิกทำอาชีพประมง ก็ให้สิ้นสุดใบอนุญาตไปด้วย ไม่มีการออกใบอนุญาตใหม่ ต่อไป ควรจะมีการสำรวจครัวเรือนที่ทำประมง และให้ขึ้นทะเบียน ให้จำกัดจำนวนอวน เอาไว้ไม่ให้เพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมจำนวนอวนและผู้ประกอบอาชีพใช้อวนหาปลาได้   


             ข้อเสนอแนะ


  1. ยกเลิกประกาศฉบับ น่าจะมีการแก้ไขประกาศเพื่อให้ประชาชนที่ทำมาหากินตามริมแม่น้ำมูล สามารถจับปลาด้วยอวนทับตลิ่งได้ เพราะการใช้อวนทับตลิ่ง ไม่ใช่การทำลายล้าง ก็มีประกาศห้ามจับปลาในฤดูวางไข่อยู่แล้ว ปลาก็สามารถแพร่พันธุ์ได้

  2. กรมประมงควรจะผ่อนผันให้สามารถใช้อวนทับตลิ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินต่อไปได้ ชาวบ้านยินดีขยายตาอวนให้ห่าง ในช่วงที่เล็กที่สุด ออกไปจาก 1.5 ซม. เป็น 3 ซม. เพื่อปลาตัวเล็กจะได้ไม่ถูกจับ และยินดีนำเครื่องมือที่ทำมาหากินมาให้กรมประมงตรวจสอบและขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง ถ้าใครฝ่าฝืนขอให้บังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้ฝ่าฝืนสูงสุดตามบทบัญญัติของกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธน ธนาพงศธร. (2535). หลักการกำหนดนโยบายของรัฐ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกษม จันทร์แก้ว. (2540). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. โครงการสหวิทยาการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ขนิษฐา กาญจนรังษีนนท์. (2542). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนากรมการพัฒนาชุมชน.
จำเริญ สุวรรณี. (2551). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัด เพชรบูรณ์. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2542). ดุจฝนชโลมดินที่แห้งผาก : กระบวนทัศน์และการจัดการพัฒนาแนวทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ: ศรีสยามพริ้นท์แอนด์แพทคท์.
ชำนาญ วัฒนศิริ. (2543). ความเข้มแข็งของชุมชนและประชาคม. วารสารพัฒนาชุมชน, 39(1), 24-29.
ชูชัย ศุภวงศ์. (2540). แนวคิด พัฒนาการและข้อพิจารณาเกี่ยวกับประชาคมสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ฐิรวุฒิ เสนาคำ. (2540). จากปัจเจกสู่สาธารณะ : กระบวนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์. (2552). การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนประมงน้ำจืด : กรณีศึกษาชุมชนหาดปานา อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และสุนี เลิศแสวงกิจ. (2537). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: วังอักษร.
ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง. (2523). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ทวี หอมชง และคณะ. (2538) .มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : ธีรพงศ์การพิมพ์.
ธเรศ ศรีสถิต และ สุรภี โรจน์อารยานนท์. (2526). การศึกษาศักยภาพของแหล่งน้ำ คุณภาพน้ำและการจัดสรรการใช้น้ำของจังหวัดระยอง (ในฤดูแล้ง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระวงศ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสรางชุมชนเขมแข็ง. ขอนแกน: ศูนยฝกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
บุนนาค ตีวกุล (2543). ชนบทไทย: การพัฒนาสู่ประชาสังคม. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประวัติความเป็นมาของบ้านบุ่งสระพัง. สืบค้นจาก http://watpaknamubon.com/content_ 633_7736_TH.html3 [วันที่ 23 มิถุนายน 2558]
ประเวศ วะสี. (2543). คนจนกับทางออกของสังคมไทย. สืบค้นจาก [Online]. Available http://www.Idinet.org/2008/index.php? Option= com-content&task =view&id= 62&Itemid [สืบค้น 12 กรกฎาคม 2558].
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2537). ทิศทางใหม่ของการพัฒนาชนบทใน ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์และคณะ วิธีวิทยาศึกษาสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนไทย.
พีรวรรณ พันธุมหาวิน และคณะ. (2529). มนุษย์กับธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2541). แผนแม่บทเพื่อการฟื้นฟูชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนการวิจัย.
รสนา โตสิตระกูล. (2528). คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง.
ราตรี ภารา. (2540). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
รายงานกรมประมง. (2556). รายงานการลักลอบทำการประมงในช่วงฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ด้วยอวนลาก. ประมงจังหวัดอุบลราชธานี.
วิชัย เทียนน้อย. (2542). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อักษรวัฒนา.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2546). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์.
สมชอบ ภูอินนา. (2552). การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาท้องถิ่นบริเวณหน้าวัดริมฝั่งแม่น้ำชี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (วัฒนธรรมศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2525). การพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สืบพงษ์ สุขสม อิมรอม มะลูลีม (2557). การพัฒนานโยบายสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีเทิร์นเอเชีย, (1), 191-200.
สุชาดา วัฒนา (2550). การเมืองการเมืองของพื้นที่ธรรมชาติในท้องถิ่น ภายใต้วาระนโยบายสิ่งแวดล้อมโลก กรณีศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ในประเทศไทย. รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2542). การเรียนรู้เพื่อเป็นพลเมือง : รากแก้วกระบวนการสร้างประชาคม.กรุงเทพฯ: ขบวนการประชาสังคมไทย : ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง.
อำพล พงศ์สุวรรณ และอารีย์ สิทธิมังค์. (2532). คู่มือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: กรมประมง.
อู่แก้ว ประกอบไวทยกิจ บีเวอร์. (2531). นิเวศวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
โอวาท สุทธนารักษ์ (2531). บทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนโดยวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.