คุณค่าของปราสาทภูมิโปนที่มีต่อวิถีชีวิตชุมชนชาวพุทธในตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 อย่าง 1) ประวัติและความเป็นมาของปราสาทภูมิโปน 2) ชีวิตชาวพุทธในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 3) คุณค่าของปราสาทภูมิโปนที่มีต่อชีวิตชาวพุทธ ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยการศึกษาเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แล้วนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า
1) ความเป็นมาของปราสาทภูมิโปน เกิดในยุคศิลปกรรมเขมรโบราณ สมัยเจนละตอนต้น ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เมื่อราว ๑,๓๐๐ ปี สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ส่วนตัวปราสาทสร้างขึ้นมาจากอิฐ หินทราย และศิลาแลง เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนิกายไศวะ
2) ชีวิตชาวพุทธในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ชีวิตของคนในชุมชนได้ดำเนินไปตามหลักความเชื่อในพุทธศาสนา ชุมชนตำบลดมเป็นกลุ่มชนชาติไทยเขมร ชุมชนแห่งนี้มีวัดและสำนักสงฆ์ ๔ แห่ง คนในชุมชนนอกจากได้ดำเนินชีวิตตามหลักความเชื่อในพุทธศาสนา ยังมีความเชื่อเรื่องผี และศาสนาพราหมณ์ที่มีแต่โบราณ เห็นจากร่องรอยการเซ่นไหว้ผีในศาลพระภูมิ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาท พิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษในเดือนสิบ ไหว้ศาลปู่ตา ไหว้ผีตาปราสาทที่ชาวบ้านภูมิโปนมีความเชื่อว่า คอยรักษาผู้คนในหมู่บ้านให้อยู่อย่างสันติสุข
3) คุณค่าของปราสาทภูมิโปนที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ คุณค่าทางพุทธศาสนา คือเกิดจากการถ่ายทอดคำสอนพุทธศาสนา คือเกิดจากความงดงามของปราสาท เมื่อบุคคลมองเห็นเกิดความสบายตา สบายใจ มีความสุขใจ คุณค่าทางจิตใจ เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชุมชน คุณค่าทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ชุมชน สร้างแรงงาน สร้างรายได้ กระจายรายได้ สร้างอาชีพ และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นำมาใช้ผลิตสินค้า เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว และคนในชุมชน คุณค่าทางวัฒนธรรม คือเป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เช่น ตำนานท้องถิ่น ศาสนา ภาษาพูด วัฒนธรรม ประเพณี และการแต่งกาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2554). ปราสาทภูมิโปน: อารยธรรมขอมโบราณในจังหวัดสุรินทร์.https://previous.thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/4960. [7 ธันวาคม2564].
โกสุม สายใจ และคณะ. (2547). สุนทรียะภาพของชีวิต: ปราสาทภูมิโปนอารยธรรมขอม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
ทัศภรณ์ แซ่ตั้ง. (2540). “คติความเชื่อเกี่ยวกับการบนบานและการแก้บน: กรณีศึกษาบ้านป่ากั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแฝก อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์”. สารนิพนธ์ประกาศนียบัตร.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP ของนวัตวิถีหมู่บ้านภูมิโปน. (2564). ปราสาทภูมิโปน. [ออนไลน์].https://www.thaimiceconnect.com/business/detail/10379[12 กันยายน 2564]
ปักหมุดเมืองไทย. (2564). ปราสาทภูมิโปนเขมรโบราณ.[ออนไลน์]. https://pukmudmuangthai. com/detail/7419 [12 กันยายน 2564].
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2534). วัฒนธรรมแม่น้ำมูลเชิงชาติพันธุ์วิทยา และประวัติศาสตร์ชาติไทย กรณีการผสมผสานกลมกลืน ของกลุ่มชาติพันธุ์ กวย เขมร และลาว วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล: กรณี เขมร ลาว ส่วย สุรินทร์. กรุงเทพมหานคร: สารมวลชน.
พระครูสิริ รัตนานุวัตร. (2556). การบนบาน บวงสรวง: แนวคิด หลักการ อิทธิพล ต่อสังคมไทย. บทสังเคราะห์งานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
วรรณวิภา สุเนต์ตา. (2548). พระเจ้าชัยวรมัน มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรกัมพูชาผู้เนรมิตสถาปนาปราสาทบายน และเมืองนครธม. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
ราชกิจจานุเบกษา. (2524). ประกาศกรมศิลปากร. เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน 2524.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา
สารจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์. (2556). เส้นทางอารยธรรมมรดกล้ำค่าสุรินทร์. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9. (2548). เล่ม 30. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรโบราณคดีประวัติศาสตร์ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2539). ท่องอารยธรรม: การค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณคดีในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธุรกิจก้าวหน้า.
สัมภาษณ์พิชัย สิงห์ชัย. (2565). ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และโบราณคดีในจังหวัดสุรินทร์. ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. 24 กุมภาพันธ์ 2565.
สัมภาษณ์นิราช จำนงรักษ์. (2565). รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดม. ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. 24 กุมภาพันธ์ 2565.
สัมภาษณ์มยุรี สุวรรณราช. (2565). ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดม. ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. 24 กุมภาพันธ์ 2565.
สัมภาษณ์ล้ำเลิศ พัวพัฒนโชติ. (2565). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดม. ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. 24 กุมภาพันธ์ 2565.
สัมภาษณ์พระครูสุเทพศีลวิบูล. (2565). เจ้าอาวาสวัดเทพคีรีอุดม. ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. 24 กุมภาพันธ์ 2565.