ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรม สังกัดสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยอง

Main Article Content

เอกพล เทียมแสน, อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ, รังสรรค์ ประเสริฐศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมสังกัดสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมสังกัดสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยอง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนโดยมุ่งเน้นที่ข้าราชการศาลยุติธรรมสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยองจำนวน 52 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า t-test และ One way ANOVA และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งปฏิบัติงาน มีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี

  2. ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการศาลยุติธรรมสังกัดสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยองโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ด้านความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพขององค์กร ด้านความจงรักภักดีต่อองค์กร ด้านความเต็มใจและทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์กร ด้านความเสียสละเพื่อองค์กร ตามลำดับ

  3. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมสังกัดสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยอง พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมสังกัดสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยองไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมสังกัดสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดระยองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา เตียวติ. (2557). “ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2(2)

นฤมล บุญสม. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการศาลยุติธรรม กรณีศึกษา ศาลจังหวัด สมุทรปราการ. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิญาภรณ์ เต็งพานิชกุล. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการ สังคม สำนักงานเขตบางแค. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

มัทวัน เลิศวุฒิวงศา. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตในการท างานที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของพนักงานเอกชน กรณีศึกษาบริษัทจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์แห่งหนึ่งในเขต กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะ บริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริพร มะโนปา และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2564). “ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญ”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 9 (3):

สุนันท์ บุญเสนันท์. (2565). “ความผูกพันของพยาบาลวิชาชีพต่อองค์การ โรงพยาบาลปากท่อ”. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(1)

อัจจิมา เสนานิวาสและสรัญณี อุเส็นยาง. (2565). “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่สงผลตอความผูกพันของ บุคลากร”. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2 (1)