ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้านในสถานการณ์ COVID-19 ของบุคลากรการเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่

Main Article Content

ธารทิพย์ เรืองพรหม
รังสรรค์ ประเสริฐศรี
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
พระปลัดสุระ ญาณธโร
วิขัย โถสุวรรณจินดา

บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานที่บ้านในสถานการณ์ COVID-19 ของบุคลากรการเคหะแห่งชาติ  สำนักงานใหญ่ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรการเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้านในสถานการณ์ COVID-19 ของบุคลากรการเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรการเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ จำนวน 159 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลการศึกษาพบว่า


  1. พฤติกรรมการทำงานที่บ้านในสถานการณ์ COVID-19 ของบุคลากรการเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.24, S.D. = .824)

  2. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรการเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.28, S.D. = .799)

  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้านในสถานการณ์ COVID-19 ของบุคลากรการเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ เป็นไปในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ ด้านนโยบายองค์กร รองลงมา ได้แก่ ด้าน การรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้งาน ด้านบรรทัดฐานที่บ้าน ด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน ด้านความเข้ากันในการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลนิษฐ์ เสฐียนโกเศศ, และ ธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานรูปแบบ Work From Home (WFH) ให้เกิดประสิทธิภาพของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย (ครั้งที่ 9). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. สร้างสรรค์งานวิจัยบนฐานของนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ วันที่ 1 มีนาคม 2564.

ณัฐฐินันท์ มรกตศรีวรรณ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) ของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพและปริมณฑลในภาวะวิกฤติ โควิด-19. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยพร ประสมทรัพย์, พิเชษฐ์ เชื้อมั่น, และ โชติ บดีรัฐ. (2564). Work From Home (WFH). ทำงานที่บ้าน อย่างไรให้เวิร์คและมีความสุข. บทความมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(10), 371-381.

ประภาสี โพธิปักขิย์. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบ work from home ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เมื่อเกิดภาวะวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรพงษ์ ยมนา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและความตั้งใจนำระบบสำนักงานเสมือนมาใช้ในองค์กร. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณา วิจิตร, เธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล, และณัฐพล ฉายศิริ. (2564). รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก, 8(1), 30-40.

วลัญช์ ก้าวสัมพันธ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและการยอมรับการทำงานระยะไกล. กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์การบริหารเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Peterson, E.and Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood. Illinois, Richard D: Irwin.