ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัทภัทศา ทองประดับ
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
พระปลัดสุระ ญาณธโร
พระครูสาธุกิจโกศล
รังสรรค์ ประเสริฐศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาปัจจัย
ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จำนวน 93 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.955 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t - test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–way ANOVA)
การทดสอบรายคู่ของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า


  1. บุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30 - 40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระยะเวลาในการทำงาน 1 - 5 ปี และรายได้ต่อเดือน 15,000 - 20,000 บาท

  2. ความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D. = .553)

  3. ปัจจัยในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = .598)

  4. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการทำงานที่ต่างกันมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนสถานภาพและรายได้ต่อเดือนที่ต่างกันมีความสุขในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานครเป็นไปในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระสันต์ วงษ์วรสันต์. (2560). ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อยของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว. (2559). มาสร้างองค์กรแห่งความสุข

กันเถอะ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: แอทโฟร์พริ้นท์.

ทศพล ชาติรัมย์ (2561). ความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาล กรณีศึกษา : เทศบาลนครแหลมฉบัง.

งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิมพ์ชนก เกื้อธรรมคุณ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย สังกัดท่าเรือกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ลักษณา สุระมรรคา (2560). ปัจจัยที่สร้างภาวะความสุขในการทำงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช (2560). การศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเขตบึงกุ่ม. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปี. เข้าถึงได้จาก สืบค้นจากhttps://webportal.bangkok.go.th/

buengkum/page/sub/16581/แผนปฏิบัติราชการประจำปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2564.

สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร. (2563). แผนสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร. เข้าถึงได้จาก สืบค้นจากhttps://www.thaihealth.or.th/Books/679/สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร.html. สืบค้นเมื่อวันที่

ธันวาคม 2564.

สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Locke, E. A. (1976). The Nature and Causes of Job Satisfaction. Chicago: Rand McNally.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and Row.