การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth หน่วยการเรียนรู้ อีสานบ้านเฮา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth หน่วยการเรียนรู้ อีสานบ้านเฮา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ อีสานบ้านเฮา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth 3) ศึกษาพัฒนาการทักษะทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะทางภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.70/81.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับโปรแกรม Google Earth มีพัฒนาการทักษะทางภูมิศาสตร์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกภรณ์ ทองระย้า. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษณี สงสวัสดิ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไชยาวิทยา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จุฑามาศ ศรีวิมล. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป โดยใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สุราษฎร์ธานี.
ชาตรี เกิดธรรม. (2558). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ชิดชนก วันทวี. (2557). การพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ถิรวุฒิ สารขวัญ และวัตสาตรี ดิถิียนต์. (2562). การพัฒนาการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรแบบการค้นพบโดยใช้โปรแกรม กูเกิลเอิร์ธในวิชาภูมศาสตริ์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). การใช้ Google Earth เป็นสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ทรูไลฟ์.
เบญจวรรณ หอมรื่น. (2561). การพัฒนาการทางภูมิศาสตร์ และเครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร โดยใชเทคนิคการเรียนรูแบบ STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
โรงเรียนบ้านหนองคูวิทยาคม. (2564). รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564. ชัยภูมิ : โรงเรียนบ้านหนองคูวิทยาคม.
ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวิรียาสาส์น.
วัลยา บุญอากาศ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. จันทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุกสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อิศรา รุ่งอภิญญา. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัญญา บูชายันต์. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสริมวิทย์.
Cangro, R. M. (2005). The effects of cooperative learning strategies on the music achievement of beginning instrumentalists. Dissertation Abstracts International. 2(7), 133-141.
Chen, M. L. (2004). A study of the effects of cooperative learning strategies on student schievement in English as a Foreign Language in a Taiwan College. Dissertation Abstracts International, A 65/01, 57.
Robert, E. Slavin (1995). Cooperative Learning. 2nd ed. USA : Allyn and Bacon.