ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยอง

Main Article Content

อินทร์แปลง ไชยโคตร
รังสรรค์ ประเสริฐศรี
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยอง และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยอง  ซึ่งสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้เป็นแนวทางพัฒนาปัจจัยแรงจูงใจในการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยอง จำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าแสดงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression  Analysis) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการศึกษาพบว่า


  1. 1. ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยองมีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = .211) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังต่อไปนี้ ความมั่นคงในงาน ( = 4.47 S.D. = .362) รองลงมา ได้แก่ ความก้าวหน้า ( = 4.39, S.D. = .617) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ( = 4.30, S.D. =  .385) การยอมรับนับถือ ( = 4.29, S.D. = .513) ค่าตอบแทน ( = 4.22, S.D. =.301) ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ( = 4.12, S.D. = .478) ความรับผิดชอบ ( = 4.10, S.D. = .248) ความสำเร็จในการทำงาน  ( = 4.09, S.D. = .293) นโยบายและการบริหาร ( = 4.05, S.D. = .606) และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ( = 3.81, S.D. = .434)

  2. 2. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.22, S.D. = .211) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ด้านปริมาณงาน ( = 4.26, S.D. = .320) รองลงมาด้านค่าใช้จ่าย ( = 4.20, S.D. =.373) ด้านคุณภาพของงาน ( = 4.22, S.D. = .333) และด้านเวลา ( = 4.18, S.D. = .447)

  3. 3. ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดระยองเป็นไปในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านค่าตอบแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาพร วงศ์อาจ และโชติ บดีรัฐ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านงานธุรการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดในเขตพื้นที่ภาค 6. Journal of Modern Learning Development. 7(5) 1. http://so06.tci-thaijo.org/index. php/ fomld/index

ชวลิต ลิ้มปรีดีชัย. (2565). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดมหาสารคาม. การค้นคว้าอิสระทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐาปนี สังขวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 25. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหาร สังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร จัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก.

ปานทิพย์ อิ่มจิต. (2562). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรม กรณีศึกษา : สำนักอำนวยการประจำศาลอาญารัชดา.สารนิพนธ์ทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พชร สันทัด. (2557). ศาสตร์และศิลป์การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ เข่งแก้ว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร : กรณีศึกษาสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์. [ออนไลน์]. (2565). เข้าถึงได้จาก https:// th. Wiki pedia. org/wiki/. (สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565).

ศาลยุติธรรม. [ออนไลน์]. (2565). รายงานสถิติคดีในภาพรวมและสรุปผลการดำเนินงานด้านคดีของศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร ประจำปี พศ. 2565 (ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565). เข้าถึงได้จาก https://shorturl.moj.go.th/5ylj1 (สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565).

Herzberg, F. Bernard, M. & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey & Sons.

McClelland, D. C. (1961). The Achieving Society. Princeton: Van Nostrand.

Peterson, E. & Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded.). New York: Harper and Row Publications.