การวิเคราะห์หนังสือเรียนภาษาจีน 快乐汉语 第三册(หนังสือเรียน Kuaile Hanyu เล่มที่ 3) ที่ใช้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

Main Article Content

วิกานดา ปินไชย
ศศิธร นุริตมนต์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือเรียนภาษาจีน快乐汉语 第三册 (หนังสือเรียน Kuaile Hanyu เล่มที่ 3)  จำนวน 1 เล่ม 24 บทเรียน โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2  ส่วน ส่วนแรกวิเคราะห์เพื่อหาความสอดคล้องและเหมาะสมในการนำหนังสือไปใช้ จากแบบสอบถามของคุณครูและนักเรียนกลุ่มตัวอย่างของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15  อ.เชียงแสน จ.เชียงราย  ผลวิจัยพบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าหนังสือเล่มนี้มีความสอดคล้องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาในบทเรียน การใช้ภาษาและการนำเสนอ สามารถนำไปสื่อสารปรับใช้ได้จริง สามารถใช้หนังสือในการเรียนการสอนได้ แต่ทว่าในด้านคำศัพท์และการตั้งชื่อเรื่องในบางบทเรียน ประชากรกลุ่มตัวอย่างเห็นว่ายังไม่สอดคล้องและเหมาะสมกันกับที่ปรากฎอยู่ในบทเรียน การวิเคราะห์ในส่วนที่สอง เป็นการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ มีเนื้อหาที่ปรากฎในหนังสือ โดยประกอบด้วย 1) ด้านคำศัพท์ 2) ด้านแบบฝึกหัด 3) ด้านไวยากรณ์ ผลการศึกษาพบว่า ด้านแบบฝึกหัดและด้านไวยากรณ์ยังต้องมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. (สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2564). สืบค้นจากhttp://hcuir.lib.hcu.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/817/1/SIRIRAKSINGEIAM.pdf

ขจีนุช ดาโอภา, และ ไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2563). การวิเคราะห์หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 102-118.

ปราณี ปราบบริปู, และคณะ. (2560). แนวทางการสร้างหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2), 346-359.

วัชราภรณ์ จูฑะรงค์. (2560). หนังสือเรียนภาษาจีนกับการพัฒนาทักษะภาษาจีนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1), 9-10.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

สำนักวิชาการ, และมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ตัวชี้วัดชั้นปีและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน หลักสูตรภาษาจีนพื้นฐานต่อเนื่อง 12 ปี (ป.1- ม.6). 15 พฤษภาคม 2559. สืบค้นจาก https://oer.learn.in.th/search_detail/result/24541.

สิริรักษ์ สิงห์เอี่ยม. (2563). การวิเคราะห์หนังสือเรียนสัมผัสภาษาจีน:กรณีศึกษานักเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ 4 แผนการเรียนภาษาจีน โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต).

盛冠男. (2017). 基于对比的海外少儿汉语教材研究 [D]. (硕士学位论文). 沈阳师范学,

辽宁.

马莉. (2018).《轻松汉语》与《快乐汉语》初级综合教材对比研究 [D]. (硕士学位论文). 新疆大学,乌鲁本 齐.

孙俪佳. (2017).《快乐汉语》教材实用性研究 [D]. (硕士学位论文).河北大,河北.

于洪月. (2013). 儿童汉语教材《快乐汉语》分析 [D]. ( 硕士学位论文). 兰州大学,兰州.

赵金铭. (2004). 对外汉语教学概论[M] :商务印书馆 .

周小兵. (2009). 对外汉语教学导论[M] :商务印书馆 .