การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนจากผักตบชวา เป็นสินค้าเทรนด์ใหม่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ดุษฎีพร หิรัญ
สุรวุฒิ สุดหา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ของใช้จากวัสดุธรรมชาติของชุมชน ออกแบบพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุผักตบชวา ร่วมกับวัสดุธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) บนฐานการมีส่วนร่วม และประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจากการเลือกแบบเจาะจงที่เป็นกลุ่มผู้แปรรูปผักตับชวาและกลุ่มหัตถกรรมจักสาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และตัวอย่างจากกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ที่ได้จากการเลือกแบบบังเอิญ ด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และเครื่องมือที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยมีกระบวนการด้านการออกแบบ ได้แก่ ต้นฉบับเพื่อการผลิตแบบจำลอง  และต้นแบบผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลุ่มอาชีพผู้แปรรูปผักตบชวา ตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลักปัจจุบันไม่ประสบปัญหามสามารถทำการผลิตสินค้าได้  โดยแบ่งปัญหาที่พบ ในด้านการผลิต พบว่า  ในช่วงฤดูฝนประสบปัญหาน้ำท่วม วัตถุดิบประสบปัญหาไม่สามารถนำมาผลิตสินค้าได้ เนื่องจากเส้นใยผักตบชวาจะขึ้นเพราะความชื้น และปัญหาเนื่องจากผู้ผลิตเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ว่างจากงานด้านการเกษตรและเลี้ยงดูบุตรหลาน ด้านการผลิต  กลุ่มยังไม่มีแผนการขยายแรงงานหรือกำลังผลิต  เนื่องจากส่วนมากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงเกิดความไม่ต่อเนื่องและขาดแคลนแรงงานนการผลิตในช่วงเกษตรกรรม ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า ขาดการพัฒนารูปแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ยังเป็นดั้งเดิม มีการพัฒนาต่อเนื่องด้วยตนเอง และตามข้อเสนอแนะจากลูกค้า  ด้านการตลาด เน้นที่ตลาดภายในจังหวัดเป็นหลัก ไม่มีการส่งเสริมการตลาดอีกทั้งยังมีคู่แข่งทางการค้าสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันค่อนข้างมาก โดยยังขาดการส่งเสริมและข้อมูลในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง 

  2. การออกแบบพัฒนาและประเมินผลผลิตภัณฑ์ มีการประเมินความคิดเห็นในภาพรวมจัดอยู่ในระดับมากที่สุดสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเครื่องเรือน (ประเภทเฟอร์นิเจอร์) มากที่สุด รองลงมาเป็นแจกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ คือ ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรงในการใช้งาน รองลงมาเป็นรูปแบบของการเลือกใช้วัสดุประกอบที่เหมาะสมกับการใช้งาน  ตามลำดับ

  3. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากผักตบชวาและวัสดุธรรมชาติ ในรูปแบบของเครื่องเรือน ประเภทเฟอร์นิเจอร์ โดยมีการประเมินความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่มีอิทธิพลในการซื้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ในการเลือกใช้วัสดุประกอบที่เหมาะสมต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านออกแบบมีความแปลกใหม่จากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด ด้านมีความเป็นเอกลักษณ์ของงาน และด้านลวดลายที่สวยงาม ตามลำดับ   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจษฎา พัตรานนท์. (2553). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานท้องถิ่นโดยใช้วิธีการวิจัย ปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา กลุ่มจักสานใบกะพ้อ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยาพิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรพิมล ศักดาและบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ

วุฒิชัย วิถาทานัง. (2558). บทความวิจัย เรื่องการศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานประเทภเครื่องตกแต่งและเครื่องเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า 107 – 119.

ศักดิ์ชาย สิกขา และคณะ. (2550). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานร่วมสมัย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร

บุษบา อู่อรุณ. (2555). การศึกษาการลดปริมาณผักตบชวา เพื่อนำไปสร้างธุรกิจขนาดย่อมในชุมชนหลวงพรตท่านเลี่ยม เขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี (หน้าที่ 32-44) สืบค้นจาก http://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/8-17/17-4-Butsaba.pdf เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เครื่องเรือนผักตบชวา ( มผช.402/2558 ) จาก www.tcps.toso.go.th เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565.