การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาภาษาบาลีด้วยนวัตกรรม “LIVEWORKSHEETS” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์วิชาภาษาบาลีด้วยนวัตกรรม “LIVEWORKSHEETS” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ E1/E2 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาบาลีด้วยนวัตกรรม “LIVEWORKSHEETS” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อประเมินบทเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาบาลีด้วยนวัตกรรม “LIVEWORKSHEETS”
ผลการวิจัยพบว่า
บทเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาบาลีด้วยนวัตกรรม “LIVEWORKSHEETS” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนการทดสอบหลังเรียนของบทเรียนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 82.04 และคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.35 บทเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาบาลีด้วยนวัตกรรม “LIVEWORKSHEETS” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1 มีค่าเท่ากับ 82.04 และ E2 มีค่าเท่ากับ 84.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
ผลการประเมินของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาบาลีด้วยนวัตกรรม “LIVEWORKSHEETS” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านมีค่าเท่ากับ 4.65 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.09 มีค่าระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นภพินธุ์ อนันตศิริ. (2530). แนวทางการสร้างโปรแกรมซ่อมเสริม. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี.
ทัศนีย์ ชื่นบาน. (2539) .คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 10(2): 29-30.
กิดานันท์ มลีทอง. (2540). “การพัฒนาชุดฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์สมการชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
จังหวัดนครพนม”. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ,
เขมณฏัฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558).ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : แมคเอ็ดดูเคชั่น,
Gibbon, F., Taylor, C., & Morris, L. (1987). How to design a program evaluation.New Bury
Park : Sage.