การพัฒนาหลักสูตรสองวัยสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ชวนพิศ รักษาพวก
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสองวัยสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็กปฐมวัยในตำบลนาเสียว จังหวัดชัยภูมิ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 11 คน ตัวแทนผู้ปกครองเด็ก จำนวน 20 คน จำนวน  4 ศูนย์  รวมจำนวน  31 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  ระยะที่ 2  การสร้างและพัฒนาหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ประเมินคุณภาพโครงร่างการพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 20 คน    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) ระยะที่ 4 ผลการทดลองใช้ ประเมินหลักสูตรและความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กต่อหลักสูตร จำนวน 11 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความต้องการ แบบประเมินคุณภาพโครงร่าง แบบประเมินความสอดคล้องของเอกสารประกอบหลักสูตร แบบสังเกตพฤติกรรมจากการจัดประสบการณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ และแบบวัดความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในการนำหลักสูตร มาใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผลการวิจัยพบว่า 


1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร  ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็กตำบล     นาเสียว ต้องการ และจัดหลักสูตรในกิจกรรมเสริมประสบการณ์


2) ผลการพัฒนาหลักสูตร เป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ผลปรากฏว่าองค์ประกอบของ หลักสูตร มีความเหมาะสมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.21 องค์ประกอบหลักสูตรมีความสอดคล้องกันทุกข้อ โดยมีค่าดัชนีความ สอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00


          3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.17/ 86.67     


          4) ผลการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตร อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลกัลย์ สตารัตน์. (2562 : บทคัดย่อ) การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อ16201 ภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูด โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกสร กอกอง. (2560). การพัฒนาหลักสูตรคละอายุเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(3), 19-35.

บรรลุ ศิริพานิช. (2542). ผู้สูงอายุไทย : ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรของสังคม. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2542.

เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).

วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2556). การศึกษาสถานภาพงานวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร:กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/PNRU.res.2010.75

ระวี สัจจโสภณ.(2555). การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังผู้สุงอายุ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุจิตรา แบบประเสริฐ.(2552). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพฯ.

สุทธิชัย จิตพันธุ์กุลและคณะ.(2545). ผู้สูงอายุในประเทศไทย : รายงานการทบทวนองค์ความรู้และสถานการณ์ในปัจจุบันตลอดจนข้อเสนอแนะทางนโยบายและการวิจัย กรุงเทพฯ : สาขาวิชาเวชศาสตร์ ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สุมาลี สังข์ศรี. (2545). การจัดการการศึกษานอกระบบโดยวิธีทางไกลเพื่อการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรกุล เจนอบรม.(2541). “การเรียนรู้ด้วยตนเอง นวัตกรรมทางการศึกษาที่ไม่เคยเก่า” เอกสารประกอบการประชุม นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ.(2558). วิเคราะห์รายงานการประชุมประจำปี 2558. องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2553). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.

เพ็ญแข ประจนปัจจนึก และคณะ. (2551). การยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของ สังคมไทยเพื่อการปฏิรูปสังคม : แนวทางและการปฏิบัติ. (รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ).

Herzberg, F. 1959 Herzberg, Frederick and others. (1959). The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons.

Maslow, A. H. 1954 Maslow, Abraham M. (1954). Motivation and Personality. New York : Harper and Row.

McClusky, 1975; McClusky, H.Y. (1975). Education for Aging : The Scope of the Field and Perspection for the Future. Washington D.C.: Adult Education Association of the U.S.A.

Oliva, (1992) Oliva, Peter F. (1992). Development the Curriculum. 3rd ed. New York : Harper Collins.

Saylor, Alexander and Lewis, 1981 Saylor, Galen J., William M. Alexander, and Arthur J.

Lewis. (1981). Curriculum Planning for Better Teacher and Learning. 4th ed.

New York : Holt Rinehart and Winston.

Taba, H. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt Brace and Word.

Tyler, 1950) Tyler, R.W. (1950). Basic Principles of Curriculum Development and Instruction. Chicago : University of Chicago Press.