ศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของพระครูปทุมเขตบริบาล (เนื่อง อคฺควํโส)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทพัฒนาชุมชน 2) ศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และ 3) ศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของพระครูปทุมเขตบริบาล (เนื่อง อคฺควํโส) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทพัฒนาชุมชน เป็นแนวคิดด้านมนุษย์นิยมที่เน้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและคุณธรรม และแนวคิดแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นแนวคิดที่องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น โดยคำนึงถึงการพัฒนาแบบองค์รวมอย่างสมดุลใน 5 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม และการเมือง
บทบาทการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา มี 6 ด้าน คือ (1) ด้านจิตวิญญาณของชุมชน สอนประชาชนให้นำหลักพุทธธรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน (2) ด้านวัฒนธรรม ให้วัดเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งรวบรวมศิลปกรรมต่าง ๆ ของชุมชน (3) ด้านสาธารณสุข ส่งเสริม สุขภาวะของคนในชุมชน (4) ด้านสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน (5) ด้านสังคม พระสงฆ์เป็นบุคคลต้นแบบที่ดี (6) ด้านเศรษฐกิจ สอนประชาชนประกอบสัมมาอาชีวะ และอยู่แบบพอเพียง
บทบาทการพัฒนาชุมชนของพระครูปทุมเขตบริบาล (เนื่อง อคฺควํโส) มี 6 ด้าน คือ (1) ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต (2) ด้านการศึกษา (3) ด้านผู้นำทางจิตวิญญาณ (4) ด้านสังคมสงเคราะห์ (5) ด้านทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และ (6) ด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา สอนให้ประชาชนให้ยึดตามหลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ของพระพุทธเจ้า และกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธงชัย สิงอุดม. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 8. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์ประจวบ วุฑฺฒิจารี และคณะ. (2562). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 10 (1), มกราคม – มิถุนายน.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2554). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบรรจบ ธีรวํโส. (2549). ศึกษาบทบาทและผลงานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระครูสุตสารพิมล (พระมหาพิมพา ธมฺมทินฺโน). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสังเวียร ปญฺญาธโร (ศรีมันตะ). (2550). บทบาทของพระสงฆ์ในการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษา พระครูสุภาจารวัฒน์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.