โมเดลการจัดการขยะชุมชนเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนบ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการขยะชุมชน 2) เพื่อศึกษาสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการบริหารจัดการขยะชุมชน 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ลักษณะการจัดการขยะชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนบ้านโนนสมบูรณ์ จำนวน 300 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ องค์ประกอบเชิงยืนยันและแบบจำลองสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสถิติ JASP v.0.16.4.0 ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการขยะชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผ่านเกณฑ์โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.372 ถึง 0.986 ค่า KMO เท่ากับ 0.927 มีความสัมพันธ์เชิงบวกเหมาะสมในการใช้วิเคราะห์องค์ประกอบ
- วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่ส่งผลมี 3 องค์ประกอบ 28 ตัวบ่งชี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะการบริหารจัดการขยะชุมชนมีความตรงเชิงโครงสร้างและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีที่ผ่านเกณฑ์ทุกค่า คือ = 1738.627, df = 489, P-value = 0.000, GFI = 0.882, AGFI = 0.951, RMSEA = 0.033, SRMR = 0.052 และ /df) = 3.55
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2562). แนวทางการส่งเสริมแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ และคณะ. (2566). เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 14(1) , 169-179
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา สุวรรณภูมิ. (2554). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่ม จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 ประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปกรณ์เกียรติ หมื่นสิทธิโรจน์. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษาโครงการอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง นิติบุคคล1 จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ภาควิชาทดสอบและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
พลภัทร ช่างสากล. (2558). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วสมล เทียมถนอม. (2558). รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนใน แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก เทศบาลตาบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สันชัย พรมสิทธิ์ และคณะ. (2562). รูปแบบการจัดการขยะกับความเหมาะสมของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 459-483.
สุภัทรชัย สีสะใบ. (2563). การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลพุทธวิถีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรูชุมชนเกษตร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อุบล วุฒิพรโสภณ. (2553). รูปแบบโครงสร้างองค์ประกอบเชิงสังคมในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบล. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลกาจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฮาซูลีนา วุฒิงาม และสมเคียรติ สายธนู. (2557). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยระดับครัวเรือนในเขตเทศบาล ตำบลปะลุรู. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 9 (1), 121-130.