พัฒนาการโรงเรียนวาณิชย์นุกูล พ.ศ. 2467- 2563

Main Article Content

อัญญานี ครึ่งมี
ชาตรี เกษโพนทอง
สิริพัฒถ์ ลาภจิตร

บทคัดย่อ

          บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับชุมชนชาวจีนเมืองสุรินทร์             2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนวาณิชย์นุกูลกับชุมชนชาวจีนเมืองสุรินทร์ และ                3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ในการจัดทำคู่มือพัฒนาการโรงเรียนวาณิชย์นุกูลประกอบการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิดทางประวัติศาสตร์ในการวิจัย  คือกลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  คือ ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และชาวชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 2) การสนทนากลุ่ม 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนชาวจีนในเมืองสุรินทร์ส่วนใหญ่ มีต้นกำเนิดมาจากตำบลซัวเถา เมืองแต้จิ๋ว มลฑลกวางตุ้งประเทศจีน ในสมัยนั้นประเทศไทยมีความต้องการใช้แรงงานจีนในกระบวนทางเศรษฐกิจ เมื่อมีบุตรหลานเพิ่มจำนวนมากขึ้น  จึงก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในเมืองสุรินทร์ ชื่อว่า “โรงเรียนอู๋เซีย” ใน พ.ศ. 2467  2) พัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนวาณิชย์นุกูลกับชุมชนชาวจีนเมืองสุรินทร์  แบ่งออกเป็น 5 ยุค  3) แนวทางการจัดการเรียนรู้ในการจัดทำคู่มือพัฒนาการโรงเรียนวาณิชย์นุกูล พบว่า มีฐานการเรียนรู้ภายในแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ทำแหล่งเรียนรู้ออกมาในเชิงการศึกษาประวัติศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา พิณศรี. (2548). การปรับตัวของคนไทยเชื้อสายจีนภายใต้วัฒนธรรมเขมรสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

นิเวศน์ วริทธิธรรม. (2564 พฤศจิกายน 3). สัมภาษณ์.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2550). ชาวจีนในไทยมาจากไหน เปิดประวัติการอพยพยุคแรกเริ่มถึงการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.silpa-mag.com/history/ article_26173. สืบค้น 11 ธันวาคม 2565.

พิชัย รัตนพล. (2515). วิวัฒนาการการควบคุมโรงเรียนจีน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รวิพรรณ จารุทวี. (2552). โรงเรียนจีนในมณฑลกรุงเทพฯ พ.ศ.2461-2475. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรากร โรจน์จรัสไพศาล. (2564. พฤศจิกายน 3). สัมภาษณ์.

ศิริพร สุเมธารัตน์. (2554). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ศุภชงค์ เลิศศุภวงค์. (2564. พฤศจิกายน 3). สัมภาษณ์

สำราญ บุญทา. (2565.ธันวาคม 1). สัมภาษณ์.

Buntha. S. (2022. December 1). Interview. [In Thai]

Chanthanonanon. P. (2007). Where do the Chinese in Thailand come from?Revealing the history of early migration and cultural assimilation. [Online]. Available : https://www.silpa-mag.com/history/article_26173. Retrieved 11 December 2022. [In Thai]

Jaruthavee. R. (2009). Chinese Schools in Monthon Krungthep. 1918-1932. Thesis Submitted Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts Program in History Faculty of Arts Chulalongkorn University. [In Thai] Lertsuphawong. S. (2021. November 3). Interview. [In Thai]

Parson. Talcott. (1966). Toward General Theory of Social Action. New York : Haward University Press.

Pinsri.K. (2005). Adjustment of Thai-Chinese people under the Khmer Surin culture. Doctor of Philosophy Thesis. Graduate School Surindra Rajabhat University. [In Thai]

Rattanaphon. P. (1972). The evolution of Chinese school control. Master of Public Administration Thesis National Institute of Development Administration.

Rojjaratpaisarn. W. (2021. November 3). Interview. [In Thai]

Sumetharat. S. (2011). Local history of Surin city. 3rd printing. Bangkok: Odeon Store. [In Thai]

Warithitham. N. (2021. November 3). Interview. [In Thai]