บุญข้าวประดับดินชาวไทยลาวบ้านแข้ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระมีชัย มะโนรัตน์
ภัทระ อินทรกำแหง
อิทธิวัตร ศรีสมบัติ
สิริพัฒถ์ ลาภจิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ ความเชื่อและคุณค่าในประเพณีบุญข้าวประดับดิน ตลอดจนศึกษาแนวทางบูรณาการจัดการความรู้เพื่อประกอบการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จำนวน 12 ราย ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ในชุมชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวประดับดินไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลปฏิบัติการ ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตชุมชนบ้านแข้ จำนวน 2 รูป ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมจำนวน 2 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ประชาชนบ้านแข้ที่มีประสบการณ์เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีทำบุญข้าวประดับดินมากกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์


          ผลการวิจัยพบว่า การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นงานบุญประเพณีที่จัดขึ้นในเดือน 9 วันแรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยมีความเชื่อว่าการทำบุญข้าวประดับดิน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องผู้ที่ตายไปแล้วหรือผีไม่มีญาติจะได้รับการแบ่งส่วนบุญนี้ รวมถึงเจ้ากรรมนายเวรจะช่วยส่งผลบุญให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรือง องค์ประกอบและขั้นตอนพิธีกรรมบุญข้าวประดับดินของชาวพุทธชาวไทยลาวบ้านแข้ ที่สำคัญมี  4 อย่าง คือ 1) พระสงฆ์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหรือพระภิกษุรูปอื่น และผู้ร่วมพิธีกรรม ได้แก่ ลูกหลานและญาติพี่น้องของผู้ที่วายชนม์ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนร่วมในงาน 2) สถานที่ใช้บ้านเป็นที่จัดเตรียมข้าวของอุปกรณ์เครื่องสักการระ และวัดเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา 3) สิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม คือ เครื่องสักการะ ได้แก่ ดอกไม้ 1-2-3 คู่ ก็ได้ ธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม เงิน 1 บาทขึ้นไป ใบกล้วย ไม่ไผ่เพื่อไว้กลัดใบตอง ค่าเทศนาธรรม ขวดน้ำและภาชนะรองรับ เครื่องถวายทาน อาหารคาว-หวาน และ 4) ระยะเวลาที่ประกอบพิธีกรรม นับตั้งแต่วันเริ่มเตรียมทำอาหาร ส่วนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 จนถึง 06.00 น. ของวันถัดไป คุณค่าของงานบุญข้าวประดับดินที่มีต่อวิถีชาวไทยลาวบ้านแข้ 1) ด้านวัฒนธรรม เป็นงานบุญประเพณีวัฒนธรรมที่ชาวบ้านแข้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา 2) ด้านสังคม เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ควบคุมผู้คนและสังคม ชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงได้ออกมาร่วมทำบุญ 3) ด้านเศรษฐกิจ เมื่อมีงานบุญประเพณีจะมีการจับจ่ายใช้สอยในสังคมชุมชนขึ้น มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของซื้อขายสินค้าและอาหาร เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ก่อให้เกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนขึ้น ซึ่งมีแนวทางการจัดการความรู้สามารถนำมาจัดทำเป็นคู่มือบุญข้าวประดับดินเพื่อประกอบการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นคู่มือที่ใช้ในการประกอบการเรียนรู้ทั่วไป

Article Details

How to Cite
มะโนรัตน์ พ. ., อินทรกำแหง ภ. ., ศรีสมบัติ อ. ., & ลาภจิตร ส. . (2025). บุญข้าวประดับดินชาวไทยลาวบ้านแข้ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 16(1), 172–182. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/267671
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553.). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

เจษฎา มูลยาพอ และคนอื่น ๆ. (2560). บุญข้าวประดับดิน: ประวัติพัฒนาการและอิทธิพลที่มีต่อชาวจังหวัดหนองคาย. หนองคาย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย. รายงานวิจัย.

พลสยาม สุนทรสนิท. (2563). ประเพณีบุญข้าวสาก บ้านคกมาด ต.ปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 7(1): 85-96.

พระครูโกวิทสุตาภรณ์ (สมดี โกวิโท). (2564). บุญข้าวสากกับการสร้างอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 4(2): 28-39.

พระอดิศักดิ์ อฺควํโส (2565, ธันวาคม 10). สัมภาษณ์.

สุริยา สมุทคุปติ์. (2542). มานุษยวิทยากับโลกาภิวัตน์: รวมบทความ. นครราชสีมา: สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2554). วัฒนธรรมทางเศรษฐกิจในเศรษฐกิจไร้วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

Department of Academic Affairs . (2008). Indicators and core learning content. Social studies learning group Religion and culture According to the Basic Education Core Curriculum, 2008. Bangkok: Agricultural Cooperatives Association of Thailand Company Limited. [In Thai].

Kanjanapan, A. (2011). Economic culture in a cultureless economy. Bangkok : Kopfi. [In Thai].

Munyapo, J and others. (2017). Boon Khao Pradub Din: History of development and influence on the people of Nong Khai Province. Nong Khai : Mahachulalongkorn rajavidyalaya University Nong Khai Campus. Research report. [In Thai].

PhraAdisak Akwamso (2022, December 10). Interview. [In Thai].

Phrakru Kowitsutaporn. (2021). Bun Khao Sak tradition, Ban Khok Mad, Pak Tom Subdistrict, Chiang Khan District, Loei Province. Vanam Dong Haek Buddhist Review Journal. 7(1) : 85-96. [In Thai].

Puangngam, K. (2010). Self-management of communities and localities. Bangkok : Bopit Printing. [In Thai].

Samutkup, S. (1999). Anthropology and globalization: collection of articles. Nakhon Ratchasima: School of Social Technology. Suranaree University of Technology. [In Thai].

Sunthonsanit, P. (2020). Bun Khao Sak tradition, Ban Khok Mad, Pak Tom Subdistrict, Chiang Khan District, Loei Province. Vanam Dong Haek Buddhist Review Journal. 7(2): 85-96. [In Thai].