แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

Main Article Content

ไกรสร ศรีมงคล
เมธาวี โชติชัยพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยจากตาราง Krejcie and Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 152 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 92.11 จำแนกเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 2 คน และครูผู้สอน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 แบบศึกษาความเป็นไปได้ และความเหมาะสมมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญาเพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลเพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

  2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียนควรมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน 2) ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันเป็นทีม 3) ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการประเมินการปฏิบัติงาน ที่เป็นมาตรฐานและเป็นระบบ 4) ควรเพิ่มงบประมาณในการสนับสนุนการทำงานเป็นทีม 5) ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนร่วมงานเสมอ 6) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพอย่างเต็มศักยภาพ และ 7) ผู้บริหารโรงเรียนควรเคารพและยอมรับ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคลของครูและผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุ่มพ่วง. (2558). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารโรงเรียนกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 10(3), 31-39.

กัณฑ์ฏภัทร์ ศุภะกุลสวัสดิ์. (2564). วัฒนธรรมองค์กรกับความเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 388-401.

กิตติรานีย์ ขวงพร. (2558). การพัฒนาแบบวัดทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 11(2), 131-146

ชนิภา สุวรรณพัฒน์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครู กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 341-357.

ณรงค์ พิมสาร. (2563). บทบาทผู้บริหารโรงเรียนโรงเรียนที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 315-324

ทนงศักดิ์ จันทบุรี และคณะ (2562). การพัฒนาคู่มือฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. Journal of Education Studies, 47(Suppl. 2), 111-129.

นราพร จันทร์โอชา. (2562,21 กุมภาพันธ์). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC). Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=xutzxgmeW0k

นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(1), 252-269.

พิทยาภรณ์ ปัญญาหอม. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อการ ปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี เขต 2. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 14(1), 47-58.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2564). คุณลักษณะเฉพาะของภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษา. วารสารคณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(ฉบับเพิ่มเติม 2), 100-105.

ลิขิต ศรีแสนชัย. (2562). การปฏิบัติงานด้วยการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร. Journal of Modern Learning Development, 4(2), 12-20.

ศศศรัณย์ นิ่มทัศนศิริ. (2566). แนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. Journal of Buddhist Education and Research, 6(2), 27-36.

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1. (2564). รายงานผลการนิเทศการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรสภา เรื่องแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพและบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. https://www.spe.go.th/files/com_news/2016-05_9e8ff07bfa57e8c.p

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2556, 23 สิงหาคม). Professional Learning Community (ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ). Youtube. http://www.youtube.com/watch?v=tKTc7ocJezo.

Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. Collier Mcmillan.

Bass, B.M., and Avolio, B.J. (1994). Improving Organization Effectiveness Through Transformation Leadership. Thousand Oaks: Sage.

DuFour. (2010). Collaborative teams in professional learning communities at work: Learning by doing. Solution Tree Press.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 608.

Louis & Kruse (1995). Professionalism and community: Perspectives on reforming urban schools. SAGE Publications Ltd.

Schult. (1998). Personal need for structure, the Einstellung task, and the effects of stress. Personality and Individual Differences, 24(3), 305-310.