ประสิทธิภาพการปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและควบคุม สารเคมีและวัตถุอันตรายพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีและวัตถุอันตรายพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร และ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีและวัตถุอันตรายพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักดับเพลิงกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยการปฏิบัติหน้าที่การตอบโต้เหตุฉุกเฉินที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีและวัตถุอันตรายพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร เป็นไปในทิศทางเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านการควบคุม รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการประสานงาน และปัจจัยด้านการจัดการองค์กร ตามลำดับ
- ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีและวัตถุอันตรายพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่ การกำหนดนโยบายและแผนการปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีและวัตถุอันตรายยังไม่ชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ เจ้าหน้าที่บางส่วนยังไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการตอบโต้เหตุฉุกเฉินจากสารเคมีและวัตถุอันตราย อีกทั้งการบังคับบัญชาสั่งการที่มีโครงสร้างค่อนข้างซ้ำซ้อน ส่งผลให้เกิดความสับสนและล่าช้าในการปฏิบัติงาน รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานมีความล้าสมัยและไม่พร้อมที่จะนำไปปฏิบัติการ อีกทั้งมีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐชยา พลมณี และกรุณา เชิดจิระพงษ์. (2564). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชัยภูมิ” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(2), 27 – 43.
ณัฐพล ทองอุ่ม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาค้นคว้าอิสระทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.เดลินิวส์. [ออนไลน์]. (2558). การปฏิบัติการ First Responders ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง. สืบค้นจากhttps://d.dailynews.co.th/article/343889/.
บัญชา คหินทพงษ์. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบโต้เหตุฉุกเฉินจากสารเคมีและวัตถุอันตรายภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางโพ. รายงานการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารมหานครระดับต้น รุ่นที่ 37 สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร.
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. (2561). การประเมินความเสี่ยงสุขภาพและการสร้างแบบจำลอง. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พนม พรมมิรัตนะ. (2565). “ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรมของไทย”. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 119 – 130.
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. เล่มที่ 124 ตอนที่ 52.
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2566). ข้อมูลจำนวนขนาดพื้นที่. กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 2 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. (สำเนาเอกสาร).สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. (2559). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก
https://webportal.bangkok.go.th/cpud.
อาทิตย์ คชชาและสุชนนี เมธิโยธิน. (2565). “รูปแบบกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการสาธารณภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรม กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตีนิคมแหลมฉบังและนิคมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี”. วารสารพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 15, 104 – 119.
Fayol, H. (1949). General and Industrial Management. London : Sir Isaac Pitman and Sons.
Peterson, E. and Plowman, G.E. (1953). Business Organization and Management. Chicago : Irwin.