การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียว ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1

Main Article Content

กัญญารัตน์ เพชรรักษ์
สุนันท์ สีพาย
ชวนพิศ รักษาพวก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียวด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียวด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน        3) ศึกษาพัฒนาการทักษะ เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียวด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพแม่น้ำแคว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที    (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.52/83.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีพัฒนาการทักษะปฏิบัติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 32.54 คิดเป็นร้อยละ 81.37


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2524). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ประสานมิตร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จำเนียร หาญชัยภูมิ. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องการร้อยลูกปัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ตวงพร พจนานนท์. (2562). การพัฒนาทักษะท่ารำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนช่วยเพื่อนและการเสริมแรงทางบวก. โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง จังหวัดระยอง. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ

ปราณีกองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : พระนครศรีอยุธยา.

มาลินี จุทะลพ. (2527). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

รุ้งนภา ชุมประเสริฐ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสมที่มีต่อทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. ครุศาสตร์สาร.

วารี รักหะบุตร. (2552). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่องนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบฝึกปฏิบัติกับการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสาวลักษณ์ ผุดแป้น. (2563). รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับสื่อการเรียนรู้ท้องถิ่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ เรื่องการร้อยมาลัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563. (2563). สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

อนงพันธุ์ ใบสุขันธ์. (2551). การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนชั้นอนุบาล. คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิชาติ อนุกูลเวช. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติทางเทคนิคบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สําหรับนักเรียนอาชีวศึกษา. ปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2545). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดสู่ปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

Petty, Green. (1963). “Language workbooks and Practices materials,” Developing Language Skills in the Elementary School. New York : Allyn and Bacon.,.

Simpson, D. (1972). Teaching Physical Education : A System Approach. Boston :Houghton Muffim Co.