การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
- ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.21/85.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ มีทักษะปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรรณิการ์ กมลพันธ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ เรื่องเซิ้งกระหยัง กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
คนึงนิจ บุญน้อย. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ การฟ้อนแห่ฮ้อมโฮมขวัญตามแนวคิด ของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
จารุวรรณ ครองสำราญ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการใช้โปรแกรม excel เบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1. ในเวทีนำเสนอผลงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านมนุษย์ศาสตร์และ สังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
.(2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล คนว่อง. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ เรื่องฟ้อนเตี้ย กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
นิศานาถ รัตนพันธุ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานจิตรกรรม ที่มีต่อทักษะการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : นนทบุรี.
เรณู โกศิลนานนท์. (2545). นาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชจำกัด.
วรายุทธ มะปะทัง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐาน นาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2560). ดนตรี - นาฏศิลป์. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
อนุวัฒน์ เดชไธสง. (2553). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องเวคเตอร์ โดยใช้โปรแกรม C.a.R.สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบปฏิบัติการตาม แนวคอนสตรัคติวิซึม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
อินทิรา ดีแป้น. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม ตาม แนวคิด ของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
Davies, I. K. (1971). The Management of Learning. London : McGraw-Hill.