การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรมวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประเด็น คือ (1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลัก สัปปุริสธรรม วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณภูมิ วิทยาลัย ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียนการจัดการเรียนรู้ตามหลัก สัปปุริสธรรม วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย จำนวน 28 คน ใช้คู่มือในการจัดการเรียนรู้ แผนการสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่าทางสถิติต่าง ๆ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
- การศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1/4 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจตามหลักสัปปุริสริสธรรม มากขึ้น และสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะ ตามการจัดการเรียนรู้ หลักสัปปุริสธรรม ได้เป็นอย่างดี และจากการศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม สังเกตุพบอีกว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี
2. ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม วิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 28 คน มีคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย = 13.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.96 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย = 26.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.59 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จรัส พยัคฆราชศักดิ์และคณะ. (2551). คู่มือการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ม.3. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด,
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,
วิรัช ถิรพันธุ์เมธี. (2546). พุทธปรัชญาการปกครอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด,
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. (2557). “ภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม-สิงหาคม)
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ “แผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ” ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.bps.sueksa.go.th, [21 /ก.ย/2565].
อรนุช โขพิมพ์ (2560), “ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระ ปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น”,วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระแสงสุรีย์ คุณธมฺโม (ทองขาว). (2560). “การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 วิชาพระพุทธ ศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) จังหวัดนครราชสีมา”,วิทยานิพนธ์พุทธ ศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.