การพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอป่าติ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายโสธร เขต 2

Main Article Content

กิรณา คนยืน
เมธาวี โชติชัยพงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และครู จำนวน 122 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 116 ฉบับ คิดเป็น 95.08 % เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่            ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก

  2. การพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา มีดังนี้ 1) การออกจากราชการตามหลักนิติธรรม ผู้บริหารควรประชุม ชี้แจงกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้กับบุคลากรที่จะการออกจากราชการ เมื่อมีการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับใหม่ 2) วินัยและการรักษาวินัยตามหลักคุณธรรม ผู้บริหารควรใช้อำนาจลงโทษทางวินัยภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดอย่างถูกต้องเหมาะสม และ 3) การออกจากราชการตามหลักคุณธรรม กรณีที่มีข้อผิดพลาดใดในการกระทำของบุคลากร ผู้บริหารควรจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาอย่างชัดเจน และต้องเปิดเผยกระบวนการตัดสินความผิดนั้น ๆ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนะวิน แสงทามาตย์. (2564). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. วารสารสังคมศาสตร์บููรณาการ, 1(3), 63-75. สืบค้นจาก https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/ download/60/43/51

นภัสภรณ์ มูลสิน และ สงวน อินทร์รักษ์. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 243-254. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/213399

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5(1),133-146. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tmd/article/ view/251990

พระเกรียงไกร ธมฺมวโร (มณีกัลย์), พระครูวิจิตร ปัญญาภรณ์ และ กฤตยากร ลดาวัลย์. (2566). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 7(1), 135-150. สืบค้นจาก http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2109

พิทักษ์ ภูศรีฤทธิ์, สุนทร สายคำ และ สุรศักดิ์ จันพลา. (2565). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. Journal of Modern Learning Development, 7(6), 1-11. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/255196/173756

ศรัญญา แสงสว่าง และ ไตรรัตน์ สิทธิทูล. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคล ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 6 กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 152-165. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/251178

ศศิวิมล คนเสงี่ยม และ พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 205-216. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252228

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ยโสธร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุนิสา ทิศลี, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และ ชารี มณีศรี. (2566) สภาพปัจจุบัน ปัญหาและข้อเสนอ การพัฒนาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลในเขตพื้นที่อำเภอขุขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี, 5(1), 1181-1191. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1DPDVEOPK-X3YRDEez481jsqetVTTPA-h/view

สุภัสสร รัตนะโสภา และ ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนที่ 43 สังกัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(2), 86-99. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ JRKSA/article/view/246984/167516

สุภาภรณ์ หาญณรงชัยกิจ, สมคิด นาคขวัญ และ ชูศักดิ์ เอกเพชร. (2561). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(2), 51-61. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/ 151777/137158

สุรัสวดี คุ้มสุพรรณ และ ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2564). การศึกษาสภาพ และแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 1-19. สืบค้นจาก http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/977/777

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/ 10.1177/001316447003000308