การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.884 กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 367 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วน ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
- การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า อายุต่างกัน และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมต่อการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ ไม่แตกต่างกัน และเพศต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกัน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD
3. การศึกษาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมชองประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ ดังนี้ (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้นำชุมชนควรสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีให้กับชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อค้นหาของดีในแต่ละชุมชนซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยว และเป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพของชุมชนอย่างยั่งยืน (3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ควรส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การจัดทำผลิตภัณฑ์ จากภูมิปัญญาของชุมชน ซึ่งสามารถสร้างชื่อเสียงเกียรติยศให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้อย่างยั่งยืน และ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ควรแต่งตั้งคณะกรรมการที่มาจากภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทหน้าที่เป็นตัวแทนในประเมินผลติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานให้ชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สถาบันพระปกเกล้า. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน. (2566). ตรวจสอบข้อมูลแยกตามรายพื้นที่ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์.
สุภัทรไชย์ ภาภักดี พระครูสุตวรธรรมกิจ สยามพร พันธไชยและพระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์). (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 57-58.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2543). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมพฤติกรรมในองค์การ, นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
พชร สาตร์เงิน. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารเกษมบัณฑิต (ฉบับพิเศษ), 191-197.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2549). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (พิมพ์ครั้งที่ 12).กรุงเทพมฯ : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันวิสา แช่มช้อย และโชติ บดีรัฐา. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8 (1), 374-375.
สัญญา เคณาภูมิ. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2 (3), 70-72.
ภัทรวรรธน์ วรเสฏฐ์ฐากูร นพฤทธิ์ จิตรสายธาร และวันชัย สุขตาม. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(1), 119-120.
ปัญญา เฉลียวชาติ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปัณณทัต บนขุนทด และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตําบลอิสาณอําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(1), 201.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา 124. ตอนที่ 47 ก (สิงหาคม 2560): 15-17.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559. และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 246 ง (ตุลาคม 2561): 3.
อัจฉราภรณ์ ขลิบบุรินทร์ และวิภาส ทองสุทธิ์. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา ท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 3(3), 124-125.
องค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ (2565-2568). จังหวัดสุรินทร์: องค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่,
John M. Cohen & Norman T. Uphoff. (1980). “Participation Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity”. World Development. 8(3): 213-235.