การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ ในเขตพื้นที่ชายแดน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

วิวัฒน์ ศรีทองทา
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาด  โรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดน  2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่เสริมให้ประสบผลสำเร็จ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจะช่วยให้การป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดนมีความยั้งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง โดยเก็บข้อมูลวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไควสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


                 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 36.6 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 35.7 และระดับน้อย ร้อยละ 27.7


                 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดนตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value  < 0.05) ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา ประวัติการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของสมาชิกในครอบครัว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค,กระทรวงสาธารณสุข. (ปีไม่ระบุ). ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ชนิด A (Influenza). สืบค้น 15 มิถุนายน 2566 จาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=20

กลิ่นร่ำ ทอดสูงเนิน (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ต้องขังในจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566, สืบค้นจาก nuir.lib.nu.ac.th/ dspace/bitstream123456789/5206/3/62060408.pdf.

กลุ่มควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. (2566) รายงานสถานการณ์โรค ไข้หวัดใหญ่ พ.ศ.2561- 2565. กลุ่มควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี.

กลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี. (2566). รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ พ.ศ.2561- 2565. กลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี.

เขมณัฏฐ์ จิรเศรษฐภรณ์ และ วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนชุมชนซอยสุเหร่าเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(3), 368-383.

ไพรัตน์ ห้วยทราย, ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม, & กฤษณ์ ขุนลึก. (2559). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 3(1), 64-81.

มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล, & ชมพูนุท โมราชาติ. (2558). การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลในพื้นที่ ชายแดน ไทย–สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชน ลาว: กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี Influenza surveillance of sub-district health promoting hospital in the areas of Thai-Lao border: A case of Ubon. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE RESEARCH, 9(2).

ระบบสถิติทางการทะเบียน จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2566. (2566). (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566.

ไรน่าน แดงหนำ. (2562). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนเขตเทศบาล ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น)

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนปฏิบัติการสาธารณสุขชายแดน พ.ศ. 2565-2570.แหล่งที่มาจาก http://ddc.moph.go.th/dvb/pagecontent.php?page=1269&dept =dvb. สืบค้นวันที่ 12 สิงหาคม 2566.

สุทธิพงษ์ กองวงษา. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 23(3), 1-13.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี.(2565). ข้อมูลหมู่บ้านและสถิติจำนวนประชากร. แหล่งที่มาจาก: http://bankaochonburi.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566.

Barisri, J., Paladech, J., Muriganon, P., Pankalasin, R., & Paladech, S. (2021). การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันโรคโควิด-2019(COVID-2019) ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(2), 33-45.

Cohen, J. M. and N. T. Uphoff. 1980. “Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity”. World Development, 8(3) : 213-235.

House, J., & Kahn, R. (1985). Measures and concept of social support. In S. Cohen, & Sl. Syne Social support and health (pp. 83-108). Orlando: Academic