ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

Main Article Content

อาริยา แสงนิล
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
บุลภรณ์ เทวอนสิริกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 329 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ     สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร 6 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

  3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาองค์ประกอบด้านการบริหารความเสี่ยง ตระหนักและให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์องค์กรร่วมกับบุคลากร มีการกำกับ ติดตามอย่างมีระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชนก โตนาค. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 131–140. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/21951

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิยา ยิ้มรักษา. (2565). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 880-891. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.21

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริฉัตร นวนทอง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปิยะ ตันติเวชยานนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา: บริษัท ซุปเปอร์ริช อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็กซ์เชนจ์ 1965 จำกัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(2). 102-111. สืบค้นจาก http://61.19.238.50/journal/data/9-2/9-2-12.pdf

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. (2564). จุดเน้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร.

อรวรางค์ จันทร์เกษม, วรกมล วิเศษศรี และ สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารตามความคิดเห็นของพนักงานและพฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 8(1), 138-144. สืบค้นจาก https://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/faa/article/ view/794/739

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2554). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Horth, D. M., & Vehar, J. (2012). Becoming a leader who foster innovation. Center for Creative Leadership. Retrieved from https://www.ccl.org/wpcontent/uploads/2014/03/ BecomingLeaderFostersInnovation.pdf

Horth, D., & Buchner, D. (2014). Innovation leadership: How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results. Center for Creative Leadership. Retrieved from https://imamhamzatcoed.edu.ng/library/ebooks/resources/ Innovation_Leadership_by_david_horth.pdf

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10. 1177/001316447003000308

Rahman, S. Y. (2012) Triangulation research method as the tool of social science research. BUP Journal, 1, 154-163. Retrieved from http://www.bup.edu.bd

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership: A survey of theory and research. Retrieved from https://psycnet.apa.org/record/1974-22876-000

Weiss, D. S., & Legrand, C. (2011). Innovative intelligence: The art and practice of leading sustainable innovation in your organization. New York: John Wiley & Sons.