ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับโรงเรียนแห่งนวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 300 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 94.33 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .52 - .82 และ .51 - .91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และ .96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ รองลงมา คือ ด้านการปรับสภาพแวดล้อมและพื้นที่การเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการสื่อสาร 2. ความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้นวัตกรรมของผู้บริหาร รองลงมา คือ ด้านการสร้างเครือข่ายชุมชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านบรรยากาศนวัตกรรมในโรงเรียน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม โดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับมาก มีข้อเสนอที่สำคัญ คือ ผู้บริหารควรเพิ่มความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์การ และควรร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
Article Details
References
ฐิตาพร ตันเจริญรัตน์. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับทักษะของครูในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. (2565). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธัญวรัตม์ สิงห์จู. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม: การบูรณาการการวิเคราะห์ ข้ามกรณีและการติดตามกระบวนการ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปานชนก ด้วงอุดม. (2562). การศึกษาสภาพการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับ ความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เมธา สามัคคี. (30 เมษายน 2555). บทบาทของนวัตกรรมในโรงเรียน. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/427892
รัตนา บัวแดง (14 ธันวาคม 2565). ยื่นข้อเสนอทางเลือกการศึกษา “1 โรงเรียนขนาดเล็ก 1 โรงเรียนนวัตกรรม” แก้ปัญหายุบ-ควบรวม. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://thecitizen.plus/node/66687
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18. สืบค้นจาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/240674
ศรุตตา แววสุวรรณ และ อุไร สุทธิแย้ม. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(4), 176-189. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/247799
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ยโสธร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1.
สุกัญญา แช่มช้อย (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกชัย กี่สุขพันธ์ (1 พฤศจิกายน 2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบคค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/ content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir—
Ilomäki, L., & Lakkala, M. (2018). Digital technology and practices for school improvement: Innovative digital school model. Research and Practice in Technology Enhanced Learning (RPTEL), 13(1), 25. https://doi.org/10.1186/s41039-018-0094-8
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Korhonen T., Lavonen J., Kukkonen M., Sormunen K., & Juuti K. (2014). The innovative school as an environment for the design of educational innovations. In Finnish Innovations and Technologies in Schools. 99-113. https://doi.org/10.1007/978-94-6209-749-0_9
McKeown, M. (2008). The truth about innovation. New Jersey: Prentice Hall.
National Innovation Agency. (2006). Management innovation for executives. (2nd ed.). Bangkok: National Innovation Agency.
Sheninger, E. (2019). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. (2nd ed.). California: SAGE Publications Asia-Pacific Pte. Ltd.
Steve Wheeler. (2016). 4 Things innovative schools have in common. Retrieved from https://www.teachthought.com/education/innovative-schools/