การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พรรณธิดา แขสว่าง
ปกรณ์ ปรียากร
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การได้รับสวัสดิการสังคมของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) คุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการได้รับสวัสดิการของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 4) การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ คนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งหมดที่ได้รับการจดทะเบียนคนพิการกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 117 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการศึกษาพบว่า


  1. การได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริการทางสังคมทั่วไป ด้านสุขภาพอนามัย อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและการมีรายได้ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

  2. คุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ อยู่ในระดับดี และด้านสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

  3. การเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการได้รับสวัสดิการของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า เพศ ประเภทของความพิการ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวที่แตกต่างกันมีการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกันมีการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการแตกต่างกัน

4. การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นไปในทิศทางเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การได้รับสวัสดิการทางสังคมด้านการทำงานและการมีรายได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันยา ไชยรินทร์. (2564). ความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมของผู้พิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

โคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ

มั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2560). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

งานพัฒนาชุมชน สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง. (2566). ฐานข้อมูลคนพิการ. ฉะเชิงเทรา: องค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง.

จักรภพ ดุลศิริชัย. (2566). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับคนพิการในจังหวัดขอนแก่น : กรณีศึกษาบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิราภรณ์ งอยกุดจิก. (2557). ความต้องการสวัสดิการของคนพิการในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชานนท์ คันธฤทธิ์. (2561). “ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรี”. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1): 1-16.

ธานีรัตน์ ผ่องแผ้ว. (2558). คุณภาพชีวิตคนพิการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช : ปัจจัยที่มีผลและแนวทางการพัฒนา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปฐมพร ปานลักษณ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปุณญณุช วานิชย์. (2562). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับคนพิการในเทศบาลตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พรเทพ เตียเจริญวรรธน์ และสุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2563). “กฎหมายต้นแบบเพื่อการคุ้มครองสิทธิคน

พิการ”. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2): 164-181.

องค์การอนามัยโลก. (2556). CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Community Based Rehabilitation). กรุงเทพฯ: พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.

อนัญญา เจียนรัมย์. (2557). ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อรรฆราม ดารอแม, ณัฐวุฒิ มะดาเระ, อับดุลอาลิฟ หะยีซอ และอิทธิชัย สีดำ. (2566). “ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้พิการในตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา”. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: 843 – 859.