ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 162 คนและผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ จํานวน 2 คน ตัวแทนผู้อํานวยการโรงเรียนขนาดเล็ก จํานวน 1 คน ตัวแทนผู้อํานวยการโรงเรียนขนาดกลาง จํานวน 1 คน ตัวแทนครูโรงเรียนขนาดเล็ก จํานวน 1 คน ตัวแทนครูโรงเรียนขนาดกลาง จํานวน 1 คน ตัวแทนครูโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 คนรวมผู้ให้ข้อมูล จํานวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ประกอบด้วย (1) ควรรับรู้ความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองในการกำหนดมาตราฐานการศึกษา (2) ควรควบคุมสติของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม (3) ควรกระตือรือร้นในการทำงาน (4) ควรให้ความสนใจกับสภาวะอารมณ์ของผู้อื่นในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาอยู่เสมอ (5) ควรติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาได้อย่างดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร โพธิมณี. (2562). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาการบริหารและ
พัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรพรรณี.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือการจัดกิจกรรม “ฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ”
สําหรับอาสาสมัครแกนนําศูนย์เพื่อนใจ To Be Number One ฉบับปรับปรง ปี 2556. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร
วิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1), 99–107.
ณัฏฐยา ลามุล. (2559). ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์กับประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามุกดาหาร.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนครพนม].
Ipebk.ac.th.https://arc.npu.ac.th/index.php?page=theses&pagenums=81
ธีราภรณ์ ธะนะหมอก และสุภาพ ผู้รุ่งเรือง. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทาง
อารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 : ตามทัศนะของครู. การประชุม
วิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”.file:///C:/Users/Kcom/Downloads/Documents/2562Vol9No1_62.pdf
นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2557). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้เด็ก. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วรรษพร อยู่ข้วน กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา และชวนชม ชินะตังกูร. (2566). ความฉลาดทางอารมณ์
ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง.
วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(1), 190-204.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. (2566). เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้าง
คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรีสะเกษ เขต 4.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อนุพล สนมศรี. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศ
องค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สกลนคร.
อุไรวรรณ ชูมี. (2561). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของ
ครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1. (การค้นคว้า
อิสระการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Drucker, P. (1994). The age of social transformation. Atlantic Monthly, 274, 53-80.
Juan, F. R. (2016). Student perceptions of the role of emotional intelligence in
college success: A phenomenological study. international journal of
business marketing and management (IJBMM), 1(3), 58-78
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Goleman, D. (1998). Working with emotional inelligence. New York: Bantam Book.
Mohamad and Juraifa (2016). Emotional Intelligence and job Performance: A study
among malaysian teachers. procedia economics and Finance, 35, 674-682.