การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อนำเสนอการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 300 คน ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 279 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.00 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก การพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี มีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญที่เป็นความถี่สูงสุด 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) การอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ปกครอง ผู้ปกครองควรจัดเตรียมห้อง หรือส่วนหนึ่งของห้องไว้ให้เป็นสัดส่วน รวมทั้งหาเครื่องเล่น และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไว้ให้ลูก 2) การเรียนรู้ที่บ้าน ผู้ปกครองควรส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกตามความต้องการ และตามศักยภาพของลูก เช่น เล่านิทานให้เด็กฟัง ดูโทรทัศน์ร่วมกัน เล่นกีฬา ออกกำลังกาย เป็นต้น และ 3) การติดต่อสื่อสาร โรงเรียนควรแจ้งข่าวสารเพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ปกกครองเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้นักเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คมสัน กัลยารัตน์. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรียาภรณ์ ธีระวรากุล และ สมใจ สืบเสาะ. (2566). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 142-156. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/257879
พรวัชร บุญประเสริฐ และ พนมพร จันทรปัญญา. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชน: การวิเคราะห์ความคาดหวังและการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์น, 12(Supplement), 125-136. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/100114
พิมพ์พิชมญชุ์ สุภายอง และ ประวัติ พื้นผาสุก. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 303-314. สืบค้นจาก https://jeal.snru.ac.th/Files/Article/832-ArticleTextFile-20201001141529.pdf
ภิรมย์ เพ็ชร์เจริญ. (2556.) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลบ้านบางพระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์ และ นัชชิมา บาเกาะ. (2563). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของบุตร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 243-254.
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 (นิคม 1). (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี: โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 (นิคม 1).
โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี:โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2.
โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี:โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3.
โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 5. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี:โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 5.
โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 6. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี: โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 6.
วนิดา พัฒเพ็ง. (2562). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(30), 159-166. สืบค้นจาก https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=740
วรรษมน อานามวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภรัตน์ ผลทับทิม. (2559). การศึกษาความต้องการและแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สมชาย เทพแสง, กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ และ อัจฉริยา เทพแสง. (2566). การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ Outcome-based Education (OBE): กุญแจสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นหลัก. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา, 2(1), 39-52.
สุนิสา คล้ายคลึง. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านห้วยกะปิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Epstein. J. L. (1995). School/Family/Community partnerships: Caring for the children we share. Delta Kappan, 56(3), 701-712.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308