แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูโรงเรียนขยายโอกาส จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 196 คน และ ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67- 1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจในการปฏิบัติงาน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศ ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานที่ต่างกันในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01และ .05 ในขณะที่ครูที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
3) แนวทางการมีส่วนร่วม คือ การเปิดโอกาสให้ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลปฎิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมราชราชทัณฑ์. ( 2558 ). คู่มือระเบียบมาตรการบังคบใช้: สังกัดกระทรวงยุติธรรม.
กิจจา บานชื่น. (2558). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ดุสิต สาลี. การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก http://www.gotoknow.org/posts/259345
ถิรพร สิงห์ลอ. (2564). อันดับความโปร่งใส. สืบค้นๆด้จาก https://www.sdgmove.com/
นุชา สระสม, (2560)“การมีส่วนร่วมใน “การบริหารแบบบ้าน วัด โรงเรียน” ของโรงเรียนวัด สังกัดกรุงเทพมหานคร” (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 208-209.
ประสาร พรหมณา. การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://trang.nfe.go.th/alltis16/UserFiles/Pdf/wijaiman.pdf
แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. (2560 – 2579).
รัชยา ภักดีจิตต์. (2557). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. องค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วม (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์,สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉราชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
วีระยุทธ พรพจน์ธรมาส. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน.วารสารนักบริหาร 34, 1
โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558 ). “การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2. สรุปผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบในปี 2566 ส่วนที่ 3, 13.
สิรินญา ศิริประโคน. (2560). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมการทำงานของโรงเรียนบ้านมาบเตย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
สถาบันพระปกเกล้า. (2558). ดุลอำนาจในการเมืองการปกครอง (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 246.)
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. (2562). ความโปร่งใสทางการคลังของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ UNESCAP. สืบค้นได้จาก https://thaipublica.org/2019/07/thailand-trasparency-reseach-group2/.
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. (2559). องค์ประกอบหลักธรรมาภิบาล. สืบค้นได้จาก www.nrct.go.th.
สมยศ นาวีการ. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
อัมพร ศรีหิรัญพัลลภ. (2556). การบริหารตามหลักการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเขาสมิง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2566). อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา คอรัปชั้นในระบบการศึกษาไทย. สืบค้นได้จาก https://www.nacc.go.th/categorydetail/20180831184638361/20230507205533
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (2562) ประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI).
Smylie A Mark, Instructional Outcomes of School-Based Participative Decision Making, Educational Evaluation and Policy Analysis 18 (2016), 181-198.
Weng Chih-Hsiang, “Participatory managemen intechnogy evaluation” (Ed.D. Dissertation, National Cheng Kung University, 2015), 104-105.