วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นันทิกานต์ ทรงศิลป์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาถึงวัฒนธรรมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาถึงคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนากรุงเทพมหานคร และ 3. เพื่อศึกษาถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 132 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์กรในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านวัฒนธรรมแบบราชการ รองลงมาได้แก่ ด้านวัฒนธรรมแบบเครือญาติ ด้านวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ และ ด้านวัฒนธรรมแบบปรับตัว ตามลำดับ 2) คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รองลงมาคือ ด้านการทำงานร่วมกันและมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านประชาธิปไตยในองค์กร ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ด้านสิ่งแวดล้อมถูกลักษณะและปลอดภัย ด้านความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว และ ด้านค่าตอบแทนเพียงพอและยุติธรรม ตามลำดับ 3) วัฒนธรรมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานครส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร เป็นไปในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมแบบราชการ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมแบบเครือญาติ ด้านวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ และปัจจัยด้านวัฒนธรรมแบบปรับตัวมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ทรงศิลป์ น. . (2025). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 16(1), 198–212. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/279521
บท
บทความวิจัย

References

จิราภรร์ สอนดี. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้น.

วันชัย ปานจันทร์. (2558). วัฒนธรรมองค์การและการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นวรัตน์ เพชรพรหม (2565). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี.

นาวีอุดร (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎี บัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิชานาถ ยะรินทร์. (2560). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สุนันท์ วุ่นฟัก. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับผลการปฏิบัติงานของบุคลกรในสำนักอำนวยการประจำศาลอุทรณ์ภาค 7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศุภพิชญ์ อินแตง (2565). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกลุ่มเจนเนอร์ เรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bandura, A. (2004). Modeling. In E. W. Craighead & C. B. Nemeroff (Eds.). The Concise Corsini Encyclopedia of Psychology and Behavioral Sciences. New York: Wiley.

Cummings, T. G., & Worley, C.G. (2009). Organization Development & Change. (9th ed.). Ohio: South Western Cengage Learning.

Hackman, J.R. and Sutte, L.J. (1 9 7 7 ). Improving Life at Work: Behavioral Science Approaches to Organizational Change. Santa Monica, California: Goodyear Publishing.

Huse, E. F. and T. G. Cummings. (1985). Organizational Development and Change. Minnesota: West Publishing.

Walton, R. E. (1975). The quality of working life : Criteria for Quality of Working Life. New York : Free Press.