การพยาบาลมารดาและทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาลในภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอนจาน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ ภารวิจิตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลดอนจาน

คำสำคัญ:

การคลอดก่อนถึงโรงพยาบาล, การพยาบาล, ภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม, ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาทางการพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาและทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาลในภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมเปรียบเทียบ 2 รายที่มารับบริการงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอนจาน ระยะเวลาในการศึกษาเดือนสิงหาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และกระบวนการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษาที่ 1 เป็นมารดาครรภ์ที่ 2 คลอดทางช่องคลอดพร้อมรกที่บ้านก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง ให้การดูแลตัดสายสะดือที่โรงพยาบาล มารดามีภาวะเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและอุณหภูมิกายต่ำ กรณีศึกษาที่ 2 เป็นมารดาครรภ์ที่ 2 มีประวัติแท้ง มีอาการเจ็บครรภ์คลอดได้คลอดเองที่บ้าน รถโรงพยาบาลออกรับผู้ป่วยพร้อมบุตร ทำการคลอดรกที่โรงพยาบาล มารดามีความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด ภาวะติดเชื้อช่องทางคลอดฉีกขาด และทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยทั้งสองได้รับการส่งต่อการรักษาไปที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่ามารดาและทารกปลอดภัย

References

Wattanaruangkowit W. Birth Before Arrival (BBA) at Yasothon Hospital, 5 Year Descriptive and Retrospective Analytic Study. J Health Sci [อินเทอร์เน็ต] 2008 [อ้างถึง 2023 ธค 27];SII369-378. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/2722

World Health Organization. Born too soon: decade of action on preterm birth [อินเทอร์เน็ต]. 2024 [อ้างถึง 2024 มค 1];Available from: https://www.who.int/publications-detail-redirect/9789240073890

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายทารก อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [อ้างถึง 2566 มค 1];Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนและอัตราตายของทารกแรกเกิด (ต่ำกว่า 28 วัน) อัตราการตายทารก (ต่ำกว่า 1 ปี) จำแนกตามเพศ และอัตราตายมารดา พ.ศ. 2555 - 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [อ้างถึง 2567 มค 1];Available from:https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=305

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [อ้างถึง 2566 มค 1];Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [อ้างถึง 2567 มค 1];Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?

ถิรนัน สาสุนีย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมงแรกของหญิงตั้งครรภ์ ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา [อินเทอร์เน็ต] 2565 [อ้างถึง 2024 มค 4];7(3):45–56. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/258236

สินีนาฏ หงษ์ระนัย, พรทิพย์ เรืองฤทธิ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร [อินเทอร์เน็ต] 2565 [อ้างถึง 2024 มค 4];14(1):44–54. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/251118

จันทิมา นวะมะวัฒน์, ปราโมทย์ วงศ์สวัสด, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม เขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี [อินเทอร์เน็ต] 2558 [อ้างถึง 2023 ธค 27];9(1). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/41825

จิรนันท์ เดชอินทรนารักษ์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 [อินเทอร์เน็ต] 2566 [อ้างถึง 2024 มค 6];42(2):187–98. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/263922

ปรเมศวร์ วงศ์ประเสริฐ. อุบัติการณ์และความรุนแรงของภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล. Thai J Emerg Med [อินเทอร์เน็ต] 2563 [อ้างถึง 2024 มค 4];2(2):51–63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJEM/article/view/251127

จตุพร แจ่มจันทร์. การพยาบาลผู้คลอดที่มีการคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา [อินเทอร์เน็ต] 2566 [อ้างถึง 2024 มค 4];8(4):172–81. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268692

อนงค์ เอื้อวัฒนา. การพัฒนาระบบการพยาบาลมารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต] 2557 [อ้างถึง 2024 มค 4];32(3):127–36. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/27576

ปาริชาติ พิมพ์ดี. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้คลอดเพื่อป้องกันและลดภาวะตกเลือดหลังคลอด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา [อินเทอร์เน็ต] 2566 [อ้างถึง 2024 มค 4];8(4):133–41. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268555

ฐิติวรดา ไชยฤทธิ์. รูปแบบการลดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา [อินเทอร์เน็ต] 2566 [อ้างถึง 2024 มค 4];8(4):638–44. Available from: https://so06.tci thaijo.org/index.php/hej/article/view/269540

Sriphongsut P, Sawangtook S, Kerdmakmee C, Karuna S. Clinical Practice Guideline for Giving Birth before Arrival in Urban City. Kuakarun J Nurs [อินเทอร์เน็ต] 2019 [อ้างถึง 2023 ธค 27];26(2):169–80. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/220631

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29