รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

Main Article Content

นิยม แสงวงศ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะวิชาชีพและแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ (2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ (3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ และ (4) ประเมินหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ของวิทยาลัยเทคนิค เดชอุดม กลุ่มเป้าหมายเป็นครูที่สอนสาขาวิชาช่างกลโรงงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2558 สาขาวิชาช่างกลโรงงานของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม ภาคเรียนที่ 2/2558, 1/2559 และ 2/2559 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


          1. สมรรถนะผู้เรียนสาขาวิชาช่างกลโรงงานที่สถานประกอบการต้องการมี 6 สมรรถนะหลักประกอบด้วย สามารถตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานหลังการผลิต สามารถใช้เครื่องมือกลพื้นฐานได้สามารถออกแบบและออกแบบด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การควบคุมเครื่องมือกลซีเอนซี สามารถสร้างอุปกรณ์นำาคมตัดและอุปกรณ์จับยึด และสามารถ ซ่อมบำารุงเครื่องมือกล


          2. รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สาขาวิชาช่างกลโรงงานของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมที่ผู้วิจัยสร้าง ขึ้นมีด้วยกัน 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ จุดประสงค์ของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ คณะกรรมการบริหาร การจัดการเรียนรู้ สมรรถนะผู้เรียนสาขาวิชาช่างกลโรงงานที่สถานประกอบการต้องการ องค์ประกอบการบริหารการ จัดการเรียนรู้ และกระบวนการบริหารการจัดการเรียนรู้ ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และ 4.09 ตามลำาดับ


          3. ผลการทดลองใชร้ปูแบบการบรหิารการจดัการเรยีนรูส้าขาวชิาชา่งกลโรงงานของวทิยาลยัเทคนคิเดชอดุม พบว่า สมรรถนะวิชาชีพของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก


          4. ผลการประเมินหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สาขาวิชาช่างกลโรงงานของวิทยาลัย เทคนิคเดชอุดม พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และ 4.40 ตามลำาดับ ส่วนสถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะวิชาชีพของผู้เรียนสาขาวิชาช่างกล โรงงานของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.25 และผลจากการสนทนากลุ่ม ผูม้สีว่นเกีย่วขอ้งพบวา่ รปูแบบการบรหิารการจดัการเรยีนรูส้าขาวชิาชา่งกลโรงงานของวทิยาลยัเทคนคิเดชอดุมมคีวาม เหมาะสมในการนำาไปใช้ในการบริหารการจัดการเรียนการสอนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). [ออนไลน์]. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560]. จาก http://www.moe.go.th/moe/th/edlaw/index2.php?SystemModuleKey=ed_1

สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). การจัดการเรียนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2557). รายงานการศกึษาความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักเรียนสาขาวิชาช่างกลโรงงาน. จังหวัดอุบลราชธานี : วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). สำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการพ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : สำานักงานสถิติแห่งชาติ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพมหานคร : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสายอาชีพ. กรุงเทพมหานคร : สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.