การผลติและสมบัติของแผ่นฝ้าเพดาน (T-BAR) ที่ทำจากส่วนยอดของต้นสบู่ดำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและสมบัติของแผ่นฝ้าเพดาน (T-BAR) ที่ทำจากส่วนยอดของต้นสบู่ดำ โดยในการวิจัยนี้ได้นำเอาส่วนยอดของต้นสบู่ดำสภาพแห้งมาผสมกับกาวเอ็มดีไอ (ไอโซไซยาเนต) ในปริมาณที่เหมาะสมจากนั้นทำการผ่านกระบวนการอัดด้วยความร้อนจนได้แผ่นทดสอบขนาด 300×300×10 มิลลิเมตร จำานวน 3 ชิ้น นำแผ่นทดสอบที่ได้ไปทดสอบตามมาตรฐาน มอก 876-2547 ซึ่งประกอบด้วยการ ทดสอบหาค่าความชื้น ความหนาแน่น การดูดซึมและการพองตัวเมื่อแช่น้ำ แรงยึดเหนี่ยวภายในหรือแรงดึงตั้งฉาก กับผิวหน้าและค่าความต้านทานแรงดัดและมอดูลัสยืดหยุ่น ผลการทดลองพบว่า ขนาดของแผ่นวัสดุฝ้าเพดาน ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 ซม. อัตราส่วนผสมที่เหมาะสม คือ ต้นสบู่ดำ 95% กาวไอโซไซยาเนต 5% อุณหภูมิที่ใช้ ในการอัด 120°C ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอัดแผ่นฝ้าเท่ากับ 0.80 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ปริมาณ ความชื้นของวัสดุก่อนอัดเฉลี่ยอยู่ที่ 8.97% แรงอัดที่เหมาะสมอยู่ที่ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จากการทดสอบ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 876-2547) พบว่า แผ่นฝ้าเพดานสามารถทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานใน ด้านความชื้น ความหนาแน่น ความต้านทานแรงดัด แต่ไม่ผ่านในด้านการพองตัวเมื่อแช่น้ำ 2 ชั่วโมง และด้าน ค่ามอดูลัสยืดหยุ่น ในภาพรวมส่วนยอดของต้นสบู่ดำสามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นฝ้าเพดาน (T-BAR) ได้
Article Details
References
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. (2558). รายงานประจำปี 2558 กรุงเทพฯ
พรพิมล อมรโชติ และคณะ. (254). การพัฒนาใช้ประโยชน์ไม้สักขนาดเล็กจากสวนป่ามาใช้ประโยชน์เพื่อผลิตเป็นแผ่นวัสดุ
ทดแทนไม้. อ้างในการประชุมการป่าไม้ ประจำาปี 2545 ด้านวัสดุทดแทนไม้ สำานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
วรธรรม อุ่นจิตติชัย และ จรัล ทองสถิตย์. (2541). พฤติกรรมของการดีดคืนและหดตัวทางความหนาของแผ่นในการผลิตแผ่นใย
ไม้อัดฉนวนจากชานอ้อย. เอกสารการวิจัยเลขที่ ร.440 ส่วนวิจัยและพัฒนากรมป่าไม้ ผลิตผลไม้ป่า หน้า 15
สมบัติ ชิณะวง. (2549). การปลูกสบู่ดำและการใช้ประโยชน์จากสบู่ดำเอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 74 ประจำาปี 2549 คณะเกษตร
กำแพงแสน มหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร์ นครปฐม
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัด ชนิดอัดรอบ 876-2547.
กานดา พูนลาภทวี. (2530). สถิติเพื่อการวิจัย. กรงุเทพ. : ภาควชิาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ. (2530). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร เอกสารอัดสำเนา