การเปิดรับสื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อการโฆษณาเกี่ยวกับเครื่องดื่มบำรุงกำลัง 2) ศึกษาการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มบำรุงกำลัง 3) เปรียบเทียบเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพ กับการ ตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มบำรุงกำลัง และ 4) ศึกษาการเปิดรับสื่อโฆษณาที่มีผลต่อตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มบำรุงกำลังเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ทำการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อการโฆษณาเกี่ยวกับเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์อยู่ในระดับมาก ส่วนสื่ออื่นๆ มีการเปิดรับอยู่ ระดับปานกลาง 2) การตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มบำารุงกำลัง อยู่ในระดับปานกลาง 3) เพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มบำรุงกำลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การเปิดรับสื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มบำรุงกำลังจากสื่อ 8 ประเภท ได้แก่ โซเชียลมีเดีย ร้อยละ 31.00 วิทยุกระจายเสียง ร้อยละ 20.40 โปสเตอร์ ร้อยละ 17.60 นิตยสาร ร้อยละ 13.10 บิลบอร์ด ร้อยละ 11.10 กิจกรรมทางการตลาด ร้อยละ 8.80 โลโก้สินค้า ร้อยละ 22.60 วิทยุโทรทัศน์ ร้อยละ 5.60
Article Details
References
เครื่องดื่มแรดแดง.(2560).เครื่องดื่มชูกำลังเครื่องดื่มบำรุงกำลัง(Energy drinks).สืบค้นจาก https://www.raetdang.com/2017/
ลงทุนแมน.(2562).สรุปการตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง.สืบค้นจาก https://www.longtunman.com/15087
BrandAge Online.(2561).เครื่องดื่มชูกำลัง 23,000 ล้าน อยากโต !!! ต้องทลายกรอบภาพลักษณ์ของสินค้า.สืบค้นจาก http://www.brandage.com/article/8703/TCP
ThaiQuote.(2560).รู้ไหม? เครื่องดื่มชูกำลัง อันดับ 1 คือค่ายไหน..เพราะอะไร!.สืบค้นจาก https://www.thaiquote.org/content/205801
Journal for Research and Innovation Institute of Vocational Education Bangkok 88
ราชกิจจานุเบกษา.(2555).ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องดื่มที่ผสมเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน.เล่ม129 ตอน 59 ง 29 มีนาคม 2555.
วรรณพร เจริญวณิชกร.(2562). บทวิเคราะห์ เรื่อง กระทิงแดง vs. RedBull. สืบค้นจาก http://thaifranchisedownload.com/dl/group13_6441_20140108145247.pdf
พิสิฐวสุ แสนทวีสุข.(2554).การรับรู้ข่าวสารและจดจำสินค้าด้วยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของวัยรุ่นในจังหวัดนครราชสีมา : กรณีศึกษาเครื่องดื่ม M-150 วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 15(4) เมษายน-มิถุนายน 2562.
วิลาวัลย์ บุญรัตน์.(2551).ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชูกำลังของผู้บริโภคในเขต จังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เพ็ญโสภา ปิ่นพงศา.(2554).องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์และความตระหนักรู้(brand awareness) ในตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชูกำลังเอ็ม 150 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรงุเทพ
สหรัฐ สุดสงวน.(2554).คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มบำรุงกำลังยี่ห้องกระทิงแดงของผู้บริโภค.สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน.(2555).บทบาทสื่อในยุคโซเชียลมีเดียครองเมือง.กรุงเทพธุรกิจ.27 กรกฎาคม 2555. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/463460