การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิตของผู้มีงานทำในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พีรญา เชตุพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของผู้มีงานทำในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้มีงานทำในกรุงเทพมหานคร จำนวน 540 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test  F-test ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Scheffe's test และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 35 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 35,000 บาท ภูมิลำเนาเดิมภาคกลาง มีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลาง มีการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตในระดับมาก เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05  ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของผู้มีงานทำในกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสาวณี จันทะพงษ์ และนิธิสาร พงศ์ปิยะไพบูลย์. (2560). [ออนไลน์]. 20 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 : บทเรียนสู่เส้นทางเศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561]. จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Artical_19Jul2017.pdf

ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. (2561). [ออนไลน์]. ประวัติการก่อตั้งกรุงเทพมหานคร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563]. จาก http://one.bangkok.go.th/info/m.info/bmahistory/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). [ออนไลน์]. จำนวนผู้มีเงินได้ในกรุงเทพมหานครไตรมาศ 2 ปี 2559. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562]. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/ statseries03.html.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2559). สถิติ 2559 กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2547). คู่มือการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. นนทบุรี :

โรงพิมพ์นิด้าการพิมพ์.

ศีลวัต ศรีสวัสดิ์. (2552). ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์.

ชนะลักษณ์ ทัพมาลี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของครูสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สัณห์เพชร สายสรรพมงคล. (2559). การนําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหาร. รายงานการวิจัยหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 59. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ปวัน มีนรักษ์เรือนเดช. (2549). การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. ภาคนิพนธ์ปริญญา ศิลปะศาสตร์

มหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

หทัยรัตน์ อยู่รอด. (2550). ทัศนะของพนักงานต่อการนำแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต กรณีศึกษา : บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศ ไทย) จำกัด. ภาคนิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.