การสังเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษาเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษาเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 การประเมินความเหมาะสมของสมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษา รอบที่ 2 การประเมินความสำคัญของสมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษา และ 3) การประเมินยืนยันความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ประกอบด้วย ผู้บริหารและนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และนักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 21 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน (Median: Mdn.) และ พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (Interquartile Range: IQR.)  ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะดิจิทัลครูอาชีวศึกษเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ทักษะดิจิทัลพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ด้าน มี 17 สมรรถนะหลัก 69 สมรรถนะย่อย ระดับที่ 2 ทักษะดิจิทัลขั้นต้นสำหรับการทำงาน ประกอบด้วย 3 ด้าน มี 19 สมรรถนะหลัก 60 สมรรถนะย่อย และระดับที่ 3 ทักษะดิจิทัลประยุกต์สำหรับการทำงาน ประกอบด้วย 3 ด้าน มี 12 สมรรถนะหลัก 39 สมรรถนะย่อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). [ออนไลน์]. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม 2563]. จาก http://www.nesdb.go.th/-Portals/0/news/plan/p11/ SummaryPlan11_thai.pdf

กระทรวงแรงงาน. (2559). [ออนไลน์] แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กระทรวงแรงงาน ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563]. จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER003/GENERAL/DATA0000/00000354.PDF

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). [ออนไลน์]. กรอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563]. จาก https://web.parliament.go.th/assets/portals/1/files/digital_competence_ framework_for_thai_citizens.pdf

Europe Commission. (2014). [Online]. The Digital Competence Framework 2.0. [Retrieved 15 July 2020]. form https://ec.europa.eu/jrc/en/digcomp/digital-competence-framework

กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). [ออนไลน์]. เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563]. จาก https://www.vec.go.th/th-เกี่ยวกับสอศ.aspx

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. (2561). [ออนไลน์]. รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Manpower) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC). [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563]. จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2018/09/

รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2562). [ออนไลน์]. มาตรฐานด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy). [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563]. จาก https://km.li.mahidol.ac.th/digital-literacy/

สำนักรับรองมาตรฐานคุณวุฒิ (องค์การมหาชน). (2562). [ออนไลน์]. คู่มือแนะนำมาตรฐานความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy). [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563]. จาก http://newweb.mnre.go.th/hrdi/th/news/detail/34660

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). [ออนไลน์]. IC3 Digital Literacy Certification. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563].จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/ic3

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). [ออนไลน์]. Digital Literacy คืออะไร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563]. จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SME) ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550) ระเบียบวิธีวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : ยูแอด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.