ผลของการสอนอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร THE RESULT OF TEACHING PRONUNCIATION OF CONSONANT BLEND BY PHONICS TEACHING TECHNIQUE WITH THE MULTIMEDIA FOR FOURTH GRADE STUDENTS ANUBAN KHLONGLAN SCHOOL KAMPHAENG PHET

Main Article Content

สราณี สมไชยวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นเชิงวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การสอนอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ 2) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย ด้านเนื้อหาและด้านมัลติมีเดีย 4) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของสื่อการสอนโดยใช้สูตร E1/E2 และค่า T-test แบบ Dependent Group


          ผลการวิจัยพบว่า


1) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การสอนอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 88.64/89.40


2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถด้านการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการสอนอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบ ด้านเนื้อหาและด้านกิจกรรมในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุษบา บัวสมบูรณ์, สรัญญา จันทร์ชูสกุล, พินดา วราสุนันท์ และณัฐกิตติ์ นาทา. (2559). การสำรวจนวัตกรรมการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยของครูในระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย.ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 28-43.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2552). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. นนทบุรี : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุภาณี เส็งศรี. (2561). วิธีวิทยาการสอนคอมพิวเตอร์ : สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาระเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (ตันพิพัฒน์). (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดวงกมลโพรดักชั่น.

ซาร่าห์ หะยีเวฮามะ. (2560). การสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยใช้เทคนิคการสอนแบบโฟนิกส์เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่าน เรื่อง การแจกลูกสะกดคำในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 โรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยา จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สุธีรา บุนนาค. (2559). ผลของการสอนภาษาไทยแบบโฟนิกส์โดยใช้สื่อการสอนประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทยของนักเรียนหลักสูตรนานาชาติในระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาประถมศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกเมณ ดกโบราณ. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ระบบสารสนเทศ สำหรับบุคลากรสาย ปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.