การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักศึกษาอาชีวศึกษาของประเทศไทย Developing Indicators of Life and Career Skills of Vocational Student in Thailand

Main Article Content

นพพร จันทรนำชู

บทคัดย่อ

ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาอาชีวศึกษา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและตรวจสอบตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักศึกษาอาชีวศึกษาในประเทศไทย ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากสถาบันอาชีวศึกษา 9 แห่ง จำนวน 300 คนที่สุ่มแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของทักษะชีวิตและอาชีพของนักศึกษาอาชีวศึกษาในประเทศไทย มี 3 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่ 1 ความสร้างสรรค์และหลากหลาย มี 7 ตัวบ่งชี้ คือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสารกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ การนำความแตกต่างของผู้อื่นมาสร้างสรรค์พัฒนางาน การกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงาน และการจัดลำดับความสำคัญในการปฏิบัติงาน  องค์ประกอบที่ 2 การเป็นแบบอย่างที่ดี มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การให้กำลังใจแก่ผู้อื่นในการปฏิบัติงาน การเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในการปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน และองค์ประกอบที่ 3 การปฏิบัติงานที่คล่องตัว มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การมีทักษะในการปฏิบัติงาน ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานได้หลากหลายด้าน โดยองค์ประกอบและตัวบ่งชี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ดังนั้น หน่วยงานด้านอาชีวศึกษาควรกำหนดนโยบายการพัฒนาทักษะ สถานศึกษาควรจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และครูผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการใช้ทักษะการทำงานได้หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] นพพร จันทรนำชู. (2563). พัฒนศึกษา: ความหลากหลายของกระบวนทัศน์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ:
วัฒนาพานิช.
[2] Schleicher, A. (2014). A plan for education, OECD Yearbook 2014. Retrieved 20 May 2017
from http://www.oecd.org/forum/oecdyearbook/a-plan-for-education.htm)
[3] ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
[4] สมชาย จันทร์ชาวนา และกิตติเดช สันติชัยอนันต์. (2555). แนวทางการส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายฯ พ.ศ. 2552-2559. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
[5] กระทรวงแรงงาน. (2558). ฐานข้อมูลอุปสงค์และอุปทานกำลังคน. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
[6] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ.
[7] International Society for Technology in Education Students. (2007). ISTE students standards.
[Retrieved 20 May 2017]. from https://www.iste.org/docs/pdfs/20-14_ISTE_Standards-
S_PDF.pdf
[8] The Partnership for 21st century Learning (2017). Framework for 21st Century Learning.
[Retrieved 20 May 2017]. from http://www.p21.org/our-work/p21-framework.
[9] สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560]. จาก
http://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_
358135.pdf
[10] อริยาพร โทรัตน์, วัลนิกา ฉลากบาง และนิภาพร แสนเมือง. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพใน
ศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
22. วารสารวิถีสังคมมนุษย์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1. 233-248.
[11] ชนัดดา เทียนฤกษ์, ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ และถมรัตน์ ศิริภพ. (2558). การพัฒนาโมเดลการวัดทักษะชีวิต
และอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทาง
การศึกษา. ปีที่ 10 ฉบับที่ 4. 224-237.
[12] โชติญา เผ่าจินดา, ธนินทร์ รัตนโอฬาร และกฤษณา คิดดี. (2560). การตรวจสอบความตรงของโมเดลทักษะชีวิตและอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสาร Veridian E-Journal. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1. 458-470.
[13] สิริวรรณ วงศ์พงศ์เกษม, สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล และสิริวรรณ ศรีพหล. (2563). การพัฒนาโมเดลคุณลักษณะการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษา ประเภทวิชาอุตสาหกรรม. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1. 19-38.
[14] จตุพร เจ้าทรัพย์. (2558). โมเดลเชิงสาเหตุและผลของทักษะชีวิตของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 7 ฉบับที่ 13. 16-32.
[15] วิระญา กิจรัตน์, ภัทราวดี มากมี และปิยะทิพย์ ประดุจพรหม. (2561). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับแบบผสานวิธี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1. 41-50.
[16] สุจิตรา ตรีรัตนนุกูล, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, กนก พานทอง และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2564). การพัฒนามาตร
วัดทักษะชีวิตของนักเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการวิจัยกาสะลอง, 15(1), 1-10.
[17] ขวัญจิต ธรรมศิรารักษ์, สมบัติ ท้ายเรือคำ และญาณภัทร สีหหะมงคล. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไปของผู้สำเร็จ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2. 11-21.
[18] Schreiger, J., Nora, A., Stage, F.K. & Barlow, E.A. (2006). Reporting structural equation modeling and confirmatory factor analysis results: A review. The Journal of Educational Research. Vol.6. 323-338.
[19] Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2019). Multivariate data analysis. (8th ed).
New York: Pearson.
[20] The jamovi project (2021). jamovi (Version 2.0) [Computer Software]. [Retrieved, 1 Aug, 2021]. from https://www.jamovi.org
[21] Kaiser, H.F. (1974). An index of factorial simplicity. Psychometrika. Vol.39. 31-36.
[22] ปาริชาติ อังกาบ และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2561). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตและอาชีพ ตามแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2. 128-142.